วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐศาสตร์กับหุ้นบทที่ 1 : ทำไมลงทุนหุ้นต้องรู้เศรษฐศาสตร์




     เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่  แล้ว  “เลือกทำ  ในสิ่งที่เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด  เพื่อมุ่งหมายความอยู่ดีกินดีของมนุษย์


    แล้วทำไมต้อง เลือก”  ก็เพราะ โลกไม่มีทรัพยากรเพียงพอจะสนองความต้องการไม่จำกัดของมนุษย์ ที่เสมือน หลุมดำ” อันไม่สามารถถมให้เต็มได้


    ลองสมมุติว่า ไทยมีน้ำมันไม่จำกัดตลอดกาล   รัฐบาลก็ไม่ต้อง เลือก”  ว่าจะให้น้ำมันกับใคร  สามารถแจกให้ทุกโรงงาน  ทุกรถยนต์  หรือแม้แต่คนที่ไม่ต้องการ เช่น  คนไม่มีรถ  เด็กทารก  แจกคนที่ตายไปแล้วยังได้ 


    แต่เมื่อความจริงไม่เป็นแบบนั้น  เราจึงต้อง เลือก”  ใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ  จำเป็นมากก็ได้เยอะ จำเป็นน้อยก็น้อยหน่อย   ไม่จำเป็นจะไม่มีก็ได้เพราะมีแล้วไม่รู้จะไปทำอะไร  แบบนี้ดูจะ มีประสิทธิภาพและเข้าท่า กว่า



    เมื่อมีการ  เลือกขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ แลกหรือที่สำนวนไทยพูดว่า  ได้อย่างเสียอย่าง  เพราะการเลือกทำสิ่งหนึ่ง เราก็ต้องสละการได้ประโยชน์จากอีกสิ่งหนึ่ง


    ตัวอย่างเช่น  เรา เลือก ขึ้นแท็กซี่เพื่อความรวดเร็ว ก็ต้อง แลกกับประโยชน์ค่าโดยสารถูกๆ ของรถเมล์  หรือเรา เลือกลงทุนหุ้นเพราะหวังกำไรสูง ก็ต้อง แลกกับเรื่องคุ้มครองเงินต้นของพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น



"เลือก" จะต้อง "แลก" เสมอ





การเลือกของประเทศ



    แต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างกัน และมีอย่างจำกัด  ดังนั้นรัฐบาลของประเทศนั้นจึงต้อง เลือกว่าจะใช้ทรัพยากรอย่างไร


    หากรัฐบาล เลือกอย่างมีประสิทธิภาพ  เศรษฐกิจจะเติบโต  ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตสูงขึ้น  หมายถึงความอยู่ดีกินดีของคนในประเทศ ในที่สุด

    

   แล้วอะไรจะช่วยรัฐบาล “เลือก” อย่างมีประสิทธิภาพ  คำตอบนี้เป็นที่มาของตัวเลขทางเศรษฐศาสตร์  เช่น GDP  อัตราเงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน  ฯลฯ  ซึ่งตัวเลขเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง เลือก” อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง










เศรษฐศาสตร์กับการลงทุน


    เมื่อประเทศ หรือ อะไรที่เป็นองค์กรระดับ โลก เช่น  EU IMF ฯลฯ  “เลือกทำอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจ  จะส่งผลกับสินทรัพย์การลงทุนของเราเสมอ


    เพราะการ เลือก”  ทำให้เกิดการ เอื้อประโยชน์ต่อสินทรัพย์บางอย่าง  และต้อง แลกกับการเสียประโยชน์ของสินทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง


    ดังนั้น เศรษฐศาสตร์จึงเกี่ยวกับการลงทุนในแง่ "จังหวะลงทุน" ว่า เวลานี้ควรลงทุนสินทรัพย์ประเภทไหน โดยมีเป้าหมายเพื่อได้รับผลตอบแทนสูงสุด


    ตัวอย่างสมมุติว่า  ธนาคารแห่งประเทศไทย   “เลือกลดดอกเบี้ยนโยบาย  คนที่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะรู้ว่า แบบนี้ส่งผล เอื้อ ต่อธุรกิจและบุคคลให้กู้เงินมาลงทุนและใช้จ่าย และต้อง แลกกับดอกเบี้ยที่ลดลงของผู้ฝากเงิน


   ในเวลานี้ เราจะควรลงทุนในหุ้นสามัญ หรือ ตราสารหนี้ มากกว่าฝากเงินกับธนาคาร เพราะสินทรัพย์ 2 อย่างนี้ ได้ประโยชน์จากการ เลือกของธนาคารแห่งประเทศไทย  (ได้ประโยชน์ยังไงเดี๋ยวคุยกันในตอนต่อๆไป)


   กลับกัน หากธนาคารแห่งประเทศไทย เลือก”  เพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย และมีแนวโน้มเพิ่มเรื่อยๆ  เราก็จะทราบว่า เราควรลงทุนสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่ ตราสารหนี้เพราะ การเลือกแบบนี้ ส่งผลให้ตราสารหนี้ มีความน่าสนใจลดลง 






   ในบทความหน้า มาเริ่มเข้าเนื้อหาว่าด้วย "หน่วยเศรษฐกิจ" กันครับ

   ขอบพระคุณครับ

   นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://thai-hybridinvestors.blogspot.com/.
Read More »
Google