วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ATS เสี้ยนตำเท้าของตลาดหลักทรัพย์






Alternative Trading System (ATS) คือการซื้อขายหลักทรัพย์แบบใหม่ จะมาไทยในเดือนเมษายน



ATS คือการซื้อขายโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ เป็นการ match  ตรงระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย


Read More »

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เลือกหุ้นก็เหมือนได้เสียเป็นผัวเมีย



วิธีเลือกการลงทุนที่เหมาะกับเรา ก็เหมือน "การเลือกคู่"

1. หาคนที่ดูแล้วถูกใจ แล้วก็ลุยยย
2. พอเป็นแฟนสักพัก ข้อเสียแฟนเราก็จะออกมา "ถามใจ" ว่าทนได้ไหม
3. ถ้าทนได้ นั่นแหละใช่ ถ้าไม่ไหว จำยอม "เปลี่ยนใหม่"


การลงทุนก็เหมือนกัน เริ่มจากแนวทางที่โดนใจที่สุด


ผ่านเป็นสักระยะ ข้อเสียของแนวทางนั้นก็จะออกมา เพราะไม่มีแนวทางไหน สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ

Read More »

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

9 ผลกระทบจาก Robot ต่อนักลงทุนรายย่อย





 1. Robot คือ ภัยคุกคามใหม่ ที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ของนักลงทุนรายย่อย 



2. Robot ก็คือ การเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ  โดย Robot ที่น่าวิตก ไม่ใช้ Robot ที่สร้างโดยนักลงทุนรายย่อย แต่เป็น Robot ของ "ขาใหญ่" ที่มีเงินและจุดมุ่งหมายชัดเจน


3. จุดมุ่งหมายของ "ขาใหญ่" คือ ดูดเงินของรายย่อย เพื่อนำไปสร้างอาณาจักรการเงินของตน



4. นักลงทุนรายย่อย Trade หรือสร้าง Robot ยังไง ก็ไม่มีทางชนะRobotของ "ขาใหญ่"  นอกจากรายย่อยคนนั้นจะเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในคนเดียวกัน


5. สาเหตุที่ไม่มีทางชนะ เพราะนักลงทุนรายย่อยกับ Robot "ขาใหญ่" สู้ในสนามเดียวกัน แต่ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน  เปรียบดังนักมวย2คน คนหนึ่งฝึกฝนดี เก่งกาจสามารถ แถมกรรมการรักใคร่  แต่อีกคน ถูกล็อคแขนข้างหนึ่ง เอาผ้าปิดตา เมื่อ 2 คนขึ้นชก คุณคิดว่าใครจะชนะ??


6. Robot จะกระทบต่อรายย่อยทุกแนวทางโดยเสมอภาค แนวเทคนิคจะเจอกับ ตลาดผันผวนรุนแรงทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง แนวพื้นฐานจะหา หุ้นดีราคาเหมาะสมยากขึ้น ต้องยอมซื้อของแพง


7. 10 ปีข้างหน้า ผลกระทบของRobotจะเด่นชัด   20ปีข้างหน้า ตลาดหุ้นจะมีแต่ "Robotขาใหญ่" หลายๆตัวสู้กัน  เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกอย่างรายย่อยก็แหลกละเอียด ตลาดหุ้นจะมีนักลงทุนรายย่อยอย่างเราเหลือในตลาดน้อยมาก


8. 20 ปีข้างหน้า คนรุ่นใหม่ในตอนนั้นจะไม่มีใครอยากเป็นนักลงทุนรายย่อย   เพราะความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนต่ำ  คนรุ่นใหม่จะถูก บีบโดยละม่อมให้นำเงินไปให้ ขาใหญ่บริหาร เพราะจะเป็นที่รู้โดยทั่วกันว่า  ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูงมาก ไม่แน่จริงยังไงก็ขาดทุน หากอยากให้เงินตัวเอง เพิ่มมูลค่า มากกว่าฝากธนาคาร ก็มีแต่ต้องยอมนำเงินที่มี ไปให้  ขาใหญ่ บริหาร  ผลตอบแทนก็แล้วแต่ ขาใหญ่จะจัดสรรให้
 

9. ตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่หากำไร  ไม่ได้มีหน้าที่ปกป้องนักลงทุนรายย่อย  อย่าคาดหวังว่าเขาจะทำอะไรมากนัก  หากนักลงทุนรายย่อยล้มหายตายจากไป



นักลงทุนรายย่อยต้องปรับตัวอย่างไร


ต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะ


5 ปี ถัดจากนี้ Robot จะเป็น สินทรัพย์ที่เติบโตอย่างมาก มากกว่าหุ้น หรือ กองทุน


หากท่านมีเงินมากพอ ให้ท่านหา Robot สัก 3 ตัว แล้วให้ Robot แต่ละตัวบริหารเงินในจำนวนเท่ากัน เช่น ท่านมีเงิน 90 บาท ท่านก็แบ่งให้ Robot แต่ละตัว  ตัวละ 30 บาท


ผ่านไป  6 เดือน – 1ปี  ดูว่า Robot ตัวไหนทำผลกำไรต่ำสุด ให้นำเงินออกจาก Robot ตัวนั้น แล้วนำเงินไปลงทุนใน Robot ที่ทำผลตอบแทนสูงสุดแทน หรือนำเงินไปให้ Robot ตัวใหม่บริหาร  ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าท่านจะพอใจ

คุณปิยพันธ์ วงศ์ยะราเข้าร่วมบริษัทที่สร้าง Robot

คนในวงการที่รู้ว่า Robot คืออะไร เขาเข้าใจว่ามันน่ากลัวขนาดไหน


เร่งเพิ่มพูนความรู้  

หากท่านไม่มีเงินมากพอจนไม่สามารถลงทุนใน Robot ได้ ท่านจำเป็นอย่างยิ่งยวด ต้อง เร่งสปีดหาความรู้สุดชีวิต 


เพราะเมื่อวันที่ Robot  ออกจากที่มืดมาสู่ที่สว่าง (ความเห็นส่วนตัวประมาณ 5-8 ปี) หากวันนั้นท่านยังไม่เชี่ยวชาญ ท่านจะขาดทุนในการลงทุนอย่างหนัก


โดยส่วนตัวเชื่อว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง การลงทุนในปัจจัยพื้นฐาน  ยังพอทำมาหากินในไทยได้ แต่จะต้องอาศัยความอดทนเพิ่มขึ้นอย่างมาก  ผมไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่จะ "ใจหินอดทน" ขนาดนั้น


อย่าชะล่าใจว่าตลาดหุ้นไม่ไปไหน  ตลาดไม่เคยตายก็จริง แต่คู่แข่งของท่านเปลี่ยนไปแล้ว และมันก็แข็งแกร่งน่ากลัวมากด้วย


ออกไปหากินนอกบ้าน

การลงทุนนอกประเทศใน ตลาดเกิดใหม่เช่น ลาว เวียดนาม เป็นเรื่องน่าสนใจ สาเหตุเพราะ Robot ยังไม่ไปถึงที่นั่น ดังนั้นท่านยังสามารถใช้วิธีการที่เรียบง่าย เพื่อทำกำไรจากการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ได้ดีพอสมควร

เซียน VI ยังไปหากินเวียดนาม ภาพจาก Road to billion

สรุป  
Robot  คือภัยคุกคามที่น่ากลัวมากๆของรายย่อย  Robot ของ "ขาใหญ่" มีความได้เปรียบทั้งศักยภาพและโครงสร้างกติกา นักลงทุนรายย่อยควร "ปรับตัว" เพื่อรองรับการ "มาแน่" ของ Robot ต่อไป
Read More »
Google