วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สอนเล่นหุ้น- เข้าคอร์สหุ้นอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

มีพี่น้องถามประเด็นซึ่งน่าสนใจ คือ

เข้าคอร์สหุ้นหลายคอร์ส

แต่ยังเจ๊ง ติดดอย ขาดทุน

จึงมีคำถามว่า ปัญหาคืออะไร

และแก้ไขอย่างไรดี



ภาพจาก http://www.maoinvestor.com/


จากประสบการณ์ตรง

ที่เรียนคอร์สหุ้นมาพอสมควร

เห็นว่า "เรียนแล้วไม่ได้ผล"

เกิดจาก 2 ประเด็น

คือ รู้ด้านเดียว กับ การปฏิบัติตามทฤษฎี



-------------------


1. รู้ด้านเดียว 

เวลาเข้าคอร์สหุ้น

เรามักเรียน "ข้อดี" ของคอร์สนั้น

เช่น กำไรมาก แม่นยำ ประสบความสำเร็จอย่างไร

แต่ความจริงคือ

ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ

ระบบลงทุนเช่นกัน

ย่อมมี"จุดเด่น" และ "จุดด้อย"

ซึ่งจุดด้อย คือ

เวลา หรือ เงื่อนไข ที่ระบบลงทุนไม่ได้ผล

ตัวอย่างเช่น ระบบลงทุนตามแนวโน้ม

จุดด้อยคือ เมื่อตลาดหุ้นเกิดแนวโน้มขาลง หรือ sideway

มักขาดทุน มากกว่ากำไร เป็นต้น




ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย



เหตุผลหนึ่งที่เรียนคอร์สหุ้น

แต่ยังขาดทุน เจ๊ง ไม่ประสบความสำเร็จ

มาจากรู้ข้อดี แต่ไม่รู้ข้อเสีย

ไม่รู้เวลาไหนใช้ดี ไม่ดี

เพราะเมื่อเล่นหุ้น ในภาวะที่เป็น "จุดอ่อน" ของระบบ

จะผิดมากกว่าถูก

ทุนเริ่มหาย กำไรหด

เงินที่ได้มา คืนตลาดเกลี้ยง

บางคนโชคร้าย ติดดอย ขาดทุนยับ



ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

คอร์สเล่นหุ้นที่เรียนจบ แล้วใช้ได้จริง

ผู้สอนจะรู้ลึก รู้จริง ในจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างทะลุปุรโปร่ง

รู้เวลาใดควร ไม่ควร

มีวิธีแก้ปัญหา หากเหตุการณ์ไม่เป็นตามทฤษฎี

แล้วชี้แจงให้ผู้เรียน ได้ข้อมูลครบถ้วน

ดังนั้นเมื่อเวลาที่เป็นจุดอ่อนมาถึง

ผู้เรียนจึงรู้ และหลีกเลี่ยงขาดทุนหนักสำเร็จ

เลยรักษากำไรและเงินทุนได้



ส่วนคอร์สที่เรียนแล้ว ไม่เวิร์ค

คือคอร์สที่พูดแต่จุดเด่น

ยกตัวอย่างเฉพาะกรณีที่สำเร็จ

แต่ไม่บอก จุดด้อย เวลาใดควรไม่ควร

ไม่บอกว่า หากมีสถานการณ์ไม่เหมือนทฤษฎีที่สอน
จะแก้ไขอย่างไร

ทำให้เมื่อเล่นหุ้นจริง และเกิดเหตุไม่เหมือนตอนเรียน(ซึ่งมักเจอบ่อย)

ผู้เรียนจึงแก้ปัญหาไม่ได้

เลยขาดทุน ติดดอย หายนะ

จนเล่นหุ้นไม่สำเร็จในที่สุด



สรุปคือ การเข้าคอร์สหุ้นให้

มีกำไร ต้องรู้ข้อดี และ ข้อเสีย แบบทะลุปุโปร่ง

เพื่อซื้อขายได้ถูกจังหวะ

และปกป้องเงินทุนได้

ในวันที่ฟ้าไม่เป็นใจนั่นเองครับ


-------------------



2. นำทฤษฎีมาปฎิบัติ

แม้เจออาจารย์ที่เก่ง รู้ลึก รู้จริง

แต่ไม่ได้หมายความว่า

คุณจะเล่นหุ้นแล้ว ไม่ขาดทุน กำไร ประสบความสำเร็จ

เพราะความสำเร็จ เกิดจากนำทฤษฎี มาปฏิบัติได้

ดังนั้น ถึงมีที่ปรึกษาขั้นเทพ

แต่ปฏิบัติตามไม่ได้ ก็ไร้ค่า



คำถามคือ ทำไมจึงทำไม่ได้

คำตอบคือ เกิดจาก

จริต และ ความตั้งใจ


จริต คือ นิสัย ความคิด มุมมอง

ชอบไม่ชอบอะไร ในแบบของเรา

หากวิธีและคำแนะนำของผู้สอน

สวนทางกับจริตของผู้เรียนแบบ 180 องศา 

มีแนวโน้มสูงเท่าต้นตาล

ที่ผู้เรียนปิบัติตามคำสอนแล้วล้มเหลว

เพราะคนเมื่อทำสิ่งไม่ชอบ

จะเบื่อ เซ็ง หงุดหงิด

ขาดความกระตือรืนร้น ที่จะเรียนรู้อย่างรุนแรง

ดังนั้น ก็คงไม่แปลก

หากเราไม่ชอบสิ่งใด

จะทำสิ่งนั้นไม่ได้ และล้มเหลวในที่สุด



ตัวอย่างเช่น

ผู้สอนเก่งการเล่นหุ้นตามแนวโน้ม (trend following)

ซึ่งต้องทำเหมือน พลปืนซุ่มยิง (Sniper)

คือใจเย็นเป็นน้ำแข็ง

อดทน รอคอยได้นาน

หากไม่มีจังหวะสวยๆ

ก็รอได้ เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน

เมื่อซื้อแล้วถูกทาง

ก็ไม่รีบขาย ทนรวยได้นาน



แต่ถ้าคุณเป็นคนใจร้อน

ไม่อยากถือหุ้นนาน ชอบซื้อขายบ่อย

การให้ปฎิบัติแบบนักเล่นหุ้นตามแนวโน้ม

ก็เหมือน ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

คือกล้ำกลืนฝืนใจทำ

สุดท้าย จะล้มเหลวในที่สุด



ดังนั้นหากคุณรู้จริต นิสัย ตัวตนคุณ

แล้วเลือกคอร์สหุ้น ให้เหมาะกับนิสัย

จะได้ประโยชน์หนักมาก

เพราะเป็นการ put the right man on the right job

ขับเคลื่อนวิธีเล่นหุ้น บนจุดเด่นของคุณ

คุณจึงรู้สึกดี สนุก ไม่ฝืน

กระตือรือร้น ขนขวาย ที่ทำให้ตัวเองเก่งขึ้น

จึงมีโอกาสสูง ที่จะปฎิบัติตามคำแนะนำ ได้สำเร็จ




ใช้คนให้ถูกงาน 


สุดท้าย คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจ

เมื่อคุณมีที่ปรึกษาที่เก่ง รู้ลึก รู้จริง

เมื่อคุณรู้จริต และ รู้แนวทางเล่นหุ้นแบบคุณ

และหากคุณเพิ่ม ความมุ่งมั่นตั้งใจ

เรียนรู้จริงจัง ขยันอย่างบ้าคลั่ง

ต่อสู้กับอุปสรรคปัญหา อย่างทรหดอดทน

ผลคือ คุณจะเล่นหุ้นเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ชำนาญ เชี่ยวชาญ แก้ปัญหาได้

แล้วมันจะไม่สำเร็จได้ไงล่ะครับ ??

-------------------


สรุป

การเข้าคอร์สหุ้นให้ประสบความสำเร็จ

ไม่ขาดทุน ติดดอย มีกำไร

ต้องได้ครบ 3 ข้อ

1. รู้ จุดเด่น จุดด้อย

ของวิธีเล่นหุ้นที่เรียน อย่างทะลุปรุโปร่ง

2. รู้จริตนิสัย ตัวเอง

ชอบ ไม่ชอบ อะไร

แล้วเลือกคอร์สหุ้นให้เหมาะกับตัวเอง

3. มุ่งมั่นตั้งใจ ขยัน ไม่ยอมแพ้


หากมีครบ 3 ข้อ

การเข้าคอร์สหุ้น จะเกิดประโยชน์มาก

ส่งผลให้คุณเล่นหุ้นเก่ง มีกำไร

และประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ




Read More »
Google