วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ติดดอยหุ้น ทำไงดี - หลุดดอยด้วยการลดต้นทุน




ติดดอย คือการที่ต้นทุนของหุ้นที่ซื้อ
แตกต่างกับ ราคาปัจจุบันมาก
เช่น มีต้นทุน 10 บาท
แต่ราคาปัจจุบัน 8 บาท
คุณจะขาดทุนทางบัญชี 2 บาท หรือขาดทุน 20%
หากราคาปัจจุบันดิ่งลงต่อเนื่อง
เช่น จาก 8 เป็น 6 เป็น 4
แต่ต้นทุนเราแช่แข็งอยู่ 10 บาทเท่าเดิม
พอร์ตจะแดงเข้มขึ้น ขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าเรามองให้ดี
จะเห็นว่า ปัญหาของติดดอยคือ
“ต้นทุนซื้อ” ห่างไกลจากราคาปัจจุบัน มาก
จนขาดทุนทางบัญชีมากนั่นเอง


แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร
ง่ายมากครับ ถ้าปัญหาคือ ต้นทุนเราห่างจากราคาปัจจุบันมาก
เราก็ ดึงต้นทุนให้ “ต่ำลง” มาใกล้เคียงราคาปัจจุบัน
แค่นี้ เราก็ขาดทุนน้อย ไม่ติดดอยแล้ว





ตัวอย่าง ซื้อ 1000 หุ้น ต้นทุนหุ้นละ 10 บาท
เมื่อราคาเหลือ 8 บาท เราจะดึงต้นทุนลง ให้เหลือ 8.5 บาทต่อหุ้น
โดยมี 1000 หุ้นเท่าเดิม
เมื่อราคาลงอีกเหลือ 6 บาท เราก็ทำต้นทุนให้เหลือ 6.5 บาท
โดยจำนวนหุ้นเท่าเดิม
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลงไหนลงกัน
ผลคือ ท่านจะขาดทุนต่ำ ไม่เครียด ไม่กังวล
หากราคาพลิกกลับเป็น 7 บาท ท่านอาจจะขายหมด 1000 หุ้น
เก็บกำไรกลับบ้าน 0.5 บาทต่อหุ้นแบบหมูๆ

ซึ่งหากเปรียบกับอีกคน ที่แช่แข็งต้นทุนอยู่ที่ 10 บาท
หากราคาลงไปเหลือ 6 บาท จะขาดทุนอ่วม 40%
พอราคากลับไป 7 บาท ก็ยังขาดทุน 30%
จะขายก็ขาดทุนหนัก หากไม่ขายก็กลัวราคาดิ่งลงอีก
จะขึ้นจะล่องก็เจ็บตัวทั้งนั้น
จะเห็นว่า ผลลัพธ์ที่ต่างกันฟ้ากับเหวของนักลงทุน 2 ท่าน
เกิดจาก “ต้นทุน” ที่ต่างกันนั่นเอง


สรุป

วิธีแก้ปัญหาติดดอยคือ
ทำให้ “ต้นทุน” หุ้นใกล้เคียงราคาปัจจุบันมากที่สุด
ถ้าราคาตลาดลด ต้นทุนเราลดด้วย
ส่งผลให้ขาดทุนน้อย ไม่เครียด ไม่กังวล
หากราคาพลิกเป็นเพิ่มขึ้น ก็ขายกำไรง่ายครับ
จบ

สนับสนุนความรู้ - เรียน Adwords เชิงกลยุทธ์ By SearchMonopoly

Read More »

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

LTF 7 ปี ดีไหม ส่งผลกระทบอย่างไร







LTF 7ปี ดีไหม



ปีนี้ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ 

โดยผู้ซื้อ LTF ตั้งแต่ 1/1/59 จนถึง 31/12/62 ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 7ปีปฏิทิน (จากเดิม5ปี) ถึงจะได้รับการลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษีของกำไรจากการขายหน่วยลงทุน มูลค่า LTFสูงสุดที่ซื้อได้คือ ไม่เกิน15%ของรายได้ และไม่เกิน 500,000 บาท


ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้ซื้อ LTF ต้องถือหน่วยลงทุนนานขึ้น 
ถ้าเปรียบเป็นร้านค้า คือต้องปล่อยเครดิตนานขึ้น ได้ทุนคืนช้าลง
ซึ่งไม่ดี เพราะหากปีที่ 6-7 จำเป็นต้องใช้เงิน 
ก็ไม่สามารถขายLTFเพื่อนำเงินมาใช้ได้ 
อาจต้องกู้เงินซึ่งเสียดอกเบี้ยมาใช้จ่าย 
ดังนั้นการที่LTFเพิ่มเวลาถือหน่วยลงทุน 
จึงทำให้การบริหารเงินสดในชีวิตยากขึ้น 


คำกล่าวที่ว่า เพิ่มเป็น7ปีก็ดี เพราะถือนานขึ้น กำไรก็มากตาม  
โดยส่วนตัวเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะความจริง ไม่มีอะไรรับประกันว่า ขายปีที่7จะกำไรมากกว่าขายปีที่5 
เนื่องจาก LTFลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่เยอะมาก
เมื่อตลาดหุ้นสดใส ราคาหุ้นส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ราคาLTFจะเพิ่มตาม
กลับกัน หากเกิดวิกฤติ ราคาหุ้นดิ่งเหว ราคาLTFจะลดลงตามด้วย
ในโลกความจริง ไม่มีใครรู้ว่าปีไหน ตลาดหุ้นจะอยู่ในภาวะใด
หากปีที่7 ตลาดหุ้นเป็นแนวโน้มขาลงหรือเกิด Crash พอดี
เมื่อถึงตอนนั้น ราคา LTFอาจต่ำกว่าปีที่ 5 ก็ได้

สรุปคือ LTF 7 ปีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลง เพราะข้อจำกัดมากขึ้น






LTFยังน่าสนใจหรือไม่


แม้ต้องถือ LTFนานขึ้น 
แต่สำหรับคนที่ต้องการลงทุนระยะยาว ไม่มีเวลาเลือกหุ้นเอง 
แถมได้ลดหย่อนภาษีอีก
LTFก็ยังน่าสนใจ 
เพราะจากสถิติ การลงทุนระยะยาว 5-7 ปีด้วยLTF
มีโอกาสขาดทุนน้อย ผลตอบแทนเยอะกว่าเงินฝากมาก
ข้อดีอีกอย่างของ LTF คือยืดหยุ่นสูง 
ตัวอย่างเช่น ครบ7ปี อาจไม่ขาย สะสมเพื่อเป็นเงินใช้หลังเกษียณเหมือนRMF
หรือปีไหนกำไรเยอะ ขายทำกำไรบ้าง ก็ทำได้
หากมีช่วงเวลาต้องการใช้เงิน ก็แบ่งขายเพื่อนำเงินสดมาใช้จ่าย เป็นต้น
ขณะที่ RMF ต้องถือจนถึงอายุ 55 ปันผลก็ไม่มี
ดังนั้น  LTF จึงเพิ่มทางเลือกแก่นักลงทุน ช่วยเรื่องบริหารเงินส่วนบุคคลให้ง่ายขึ้นครับ



สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

Read More »
Google