วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สอนเล่นหุ้น - วิธีวิเคราะห์หุ้น " พื้นฐานดี " อย่างง่ายๆ



     




     การคัดเลือก  “หุ้นปัจจัยพื้นฐานดี”  สำหรับผู้มีประสบการณ์หลายๆปี   คงไม่ใช่เรื่องยาก   แต่สำหรับผู้เริ่มลงทุนไม่นาน  การคัดเลือก  หุ้นปัจจัยพื้นฐานดี  จากหุ้น 400 – 500 ตัว เป็นเรื่องชวนท้ออยู่ไม่น้อย   กระผมจึงขอนำเสนอวิธี  กรีนหุ้นพื้นฐานดี ด้วยวิธี เรียงลำดับความสำคัญ  ที่จะช่วยประหยัดเวลา "กรองหุ้น"  ให้เหลือเข้าข่ายที่เราจะเจาะลึกน้อยที่สุด  โดยไม่ต้องใช้เวลามากจนเกินไป โดยมีวิธีการดังนี้ครับ

     
    ทบทวนวิธีดู "ปัจจัยพื้นฐานที่ดี" 

    จากบทความ อยากรวยต้องรู้ : วิธีดู ปัจจัยพื้นฐานที่ดีตอน 1-3  บริษัทที่ ปัจจัยพื้นฐานดีต้องมี 8 ข้อดังข้างล่างนี้








    ขั้นที่1  ลำดับความสำคัญ ตามแนวทางการลงทุนของคุณ

   จากหัวข้อ 1-8 นักลงทุนต้อง จัดลำดับ  หัวข้อใหม่   โดยพิจารณาจาก  สิ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการลงทุนของคุณมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด   ซึ่งการจัดลำดับหัวข้อนี้ ขึ้นกับแนวทางของแต่ละคน  ผลออกมาก็จะไม่เหมือนกัน 
   
    ตัวอย่างเช่น บางคนเน้นลงทุนหุ้นปันผล ข้อสำคัญที่สุด คือ จะมีเงินจ่ายปันผล  คิดเป็น % มากกว่าฝากธนาคารหรือไม่   แต่ถ้าชอบหุ้นประเภทเจ้าครองตลาด  ก็ต้องดูว่า มี Barrier of entry ที่แข็งแรงหรือเปล่า แบบนี้เป็นต้น

    
    ขั้นที่2 พักพิจารณาหัวข้อแรก แล้วพิจารณาหัวข้อถัดมาก่อ

    เมื่อเริ่มพิจารณาบริษัทฯ   วิธีการคือ  ข้ามข้อแรกไปแล้วเริ่มหัวข้อถัดไปเลย   เพราะหัวข้อแรก จะต้องเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด    จึงใช้เวลาพิจารณามากที่สุด และเสียเวลามากที่สุดเช่นกัน  การพักพิจารณาข้อแรกไว้ก่อน  จึงประหยัดเวลาการ กรองหุ้น  แต่ไม่หลุดจากหัวข้อสำคัญฯรองลงมามากเกินไ อันเป็นการป้องกันการหลุดมาของบริัทที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ค่อยดีครับ

    
    แล้วจะพิจารณาแล้วข้อถัดไปกี่ข้อดีล่ะ  ?? 


    ในความเห็นของผมก็คือ กี่ข้อก็ได้  แต่ต้องไม่ทั้งหมด เพราะ หากพิจารณา 7 ข้อที่เหลือ  ก็จะไม่ตอบโจทย์เรื่อง ประหยัดเวลา กรองหุ้นอยู่ดี    กำลังดีก็ 3 ข้อ  (มาตรฐานของผมเอง ^__^)  แต่จะมากหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่สะดวก  โดยหุ้นที่จะผ่านตะแกรงกรองหุ้น  ต้องผ่านหัวข้อทั้งหมดที่เราเลือกมา  ถ้าไม่ผ่านก็ทิ้งไปก่อน  เพื่อจะเหลือหุ้นน้อยที่สุดที่จะมาเจาะลึกกันอีกทีครับ









ตัวอย่างการใช้งานจริง

วัตถุประสงค์   กรองหุ้น A - L  เพื่อเหลือหุ้นให้เจาะลึกน้อยที่สุด


ขั้นตอนที่ 1   จัดลำดับความสำคัญ  สำหรับตัวผมเองที่ลงทุนหุ้นเติบโตเป็นหลัก ผลการจัดลำดับจะออกมาแบบนี้




ขั้นตอนที่ 2   พักพิจารณาหัวข้อแรก แล้วพิจารณาหัวข้อถัดมาก่อ : เราก็เริ่มพิจารณาบริษัท A ไปถึง L ทีละบริษัทฯ ผ่านไม่ผ่านข้อไหนก็บันทึกเอาไว้ สมมุติว่าผลดังนี้



จากตัวอย่างข้างบน  บริษัทที่ผ่านการกรองหุ้น ก็คือ C และ F  ซึ่งจะนำไปเจาะลึกกันต่อไป


    โดยสรุปก็คือ สำหรับนักลงทุนที่เลือกหุ้น ด้วยปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก  การหาวิธีที่มีประสิทธิภาพ ในการคัดกรองหุ้นชั้นแรก จะช่วยประหยัดเวลาและลดงานการลงทุนไปได้มาก  ส่วนตัวผมเองใช้วิธีการข้างต้นมาตลอด หากนักลงทุนท่านใดเห็นว่ามีประโยชน์ก็นำไปทดลองใช้ได้ครับ

ขอบคุณครับ

นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน

https://www.facebook.com/stockforlife

 

Read More »

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อยากรวยต้องรู้ : วิธีดู " ปัจจัยพื้นฐานที่ดี " ของบริษัท ตอนจบ



Barrier to Entry



6.    อุตสาหกรรมนี้รายใหม่เข้ามาง่ายแค่ไหน

        อุตสาหกรรมไหนมี   “ ผนังทองแดง กำแพงเหล็ก  สำหรับ  ป้องกัน  ”        คู่แข่งรายใหม่   ถือว่า     น่าสนใจครับ 

      เพราะไอ้กำแพงเหล็ก หรือที่ฝรั่งเรียกว่า  Barrier to Entry  ความหมายก็คือ     สิ่งกีดขวาง   บริษัท หรือ คน  ที่จะหาผลประโยชน์จากอะไรบางอย่าง       ซึ่ง  Barrier to Entry มันก็มีอยู่ทุกวงการ ตัวอย่างเช่น 

       Barrie to Entry ของแฟนหนุ่ม ….  ที่ย่องขึ้นหาแฟนสาว  ก็คือ ปืนลูกซองพ่อตา 

       Barrie to Entry ของสมภาร ….  ที่มุ่งหาความสงบ ก็คือ สีกาทรงสะบึ้ม 

       Barrie to Entry ของการพัฒนาประเทศ  ก็คือ  นักการเมืองเลวๆ 

    อย่างนี้เป็นต้น  ส่วน  อุตสาหรรม  Barrier to Entry   ทางปฎิบัติก็คือ     “ สิ่งที่ต้องลงทุน ”  หากสิ่งที่ต้องลงทุนมีมูลค่ามหาศาล  หรือ ต้องผ่านกฎหมายหลายฉบับ  คู่แข่งใหม่ต้องคิดหลายตลบ  เพราะ การเข้ามาในอุตสาหกรรมสำเร็จ  ก็ไม่ได้การันตีว่าบริษัทจะ อยู่รอด ในระยะยาวแต่อย่างไร 

    แล้ววิธีมอง   Barrier to Entry ของอุตสาหกรรมนั้น  แข็งแกร่ง ดูอย่างไรล่ะครับ 

  
    ข้อแรกคือ   “ เป็นธุรกิจสัมปทานหรือไม่     

    เพราะสัมปทานในประเทศไทย   มันขอกัน ....  ยากกกส์ส์สส  พอๆกับ ผ.อ. ขอคุณนพนภามีเมียน้อยนั่นแหละครับ
          
    พิสูจน์จากปี  2554 ปีเดียว   อุต ฯ โทรคมนาคมที่เป็นธุรกิจสัมปทาน   มีมูลค่า 2 แสนกว่าล้านบาท

    เงินนี้มากมายมหาศาลขนาดไหน  ก็ระดับที่ว่า นำไปสร้าง  รถไฟฟ้าบนดิน   ถึง 6 สายได้ในปีเดียว      

       เค้กก้อนใหญ่และหอมหวานขนาดนี้    ทั้งปีทั้งชาติ  กลับหากินกันอยู่ไม่กี่ราย ขนาดเปิดประมูล 3 G ขึ้นมา  ก็ยังไม่พ้นรายเดิมๆอีก 


แสดงให้เห็นว่า  สัมปทานเป็น  Barrier to Entry  ที่ ใหญ่ และ แข็ง       แรงงงงเอามากๆๆ  ครับ

     
     ข้อสองคือ  กำไรของบริษัท   

    ลองดูว่า  กำไรของบริษัทฯในอุตสาหกรรม  มาง่าย ขนาดไหนครับ

    ถ้าบางรายรวยเละเทะ  บางรายขาดทุนจนกระอักเลือด    แสดงว่าอุตฯนี้ไม่ค่อยดีต่อรายใหม่ 

    มี  “ Barrier to Entry “  ที่แข็งแรง  เพราะคนที่จะกำไรและอยู่รอดได้ ต้องมีข้อได้เปรียบคู่แข่งเท่านั้น 

    ลองสังเกตด้วยว่า ลูกค้าของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ถ้าลูกค้าเป็นรายเล็กๆ จำนวนมากๆ  บริษัทย่อมมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง เป็นสัญญาณดีอีกเช่นกันครับ 
 

    7.     ฐานะการเงินของบริษัทเป็นอย่างไร 

    ฐานะการเงินคือสิ่งที่บ่งบอกว่า  ธุรกิจนี้   กำไรดี  และ เสี่ยงเจ๊งแค่ไหนในอนาคต  

    โดยคุณนรินทร์จะดูจากงบดุลเป็นหลัก โดยมีอัตราส่วนที่สำคัญ 3 สิ่งดังนี้ 

      ROA  (Return of Asset)  คือ  ตัววัดผลตอบแทนของธุรกิจ  

     โปรดสังเกตว่า ผลตอบแทนธุรกิจที่แท้จริง ต้องวัดเทียบกับสินทรัพย์มิใช่รายได้ครับ

     เพราะสุดท้ายต้นทุนจริงๆ ของผู้ถือหุ้น คือเงินทุนที่จมในสินทรัพย์ของบริษัท  ROA จะบอกเราว่าสินทรัพย์ที่มาจากเงินทุน สามารถสร้างผลตอบแทนขนาดไหน

     โดยธุรกิจทั่วไปควรมี ROA อย่างน้อย 10%  เฉลี่ยในระยะยาว ยกเว้นพวกการเงินซึ่งไม่มีทางทำ ROA สูงเท่ากับ Real Sector ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดีครับ

  
        D/ E ratio คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน  ซึ่งนัยยะมันก็คือ  บริษัทใช้หนี้มากแค่ไหนในการทำธุรกิจ

       เพราะ หากบริษัท A และ B มีรายได้เท่ากัน  บริษัท A หนี้มากกว่า บริษัท A จะมี ROE มากกว่าด้วย 

      เนื่องจากใช้เงินของผู้ถือหุ้นน้อย แล้วอาศัยการกู้เงินมาทำทุนแทน  สำหรับบริษัททั่วไปควรมี   D/E ไม่เกิน 1.0 ครับ 


    ถ้าเป็นธุรกิจซื้อมาขายไปอาจมี D/E ถึง 3.0ยกเว้นพวกสถาบันการเงินจะต้องมี D/E ที่สูงกว่านั้นมาก  

    เงินกู้คงเหลือ หรือ Lending Capacity 
   
    ผู้บริหารที่ดีจะ "เผื่อ" วงเงินกู้ไว้เสมอ  เพราะเมื่อโอกาสเหมาะ  บริษัทสามารถขยับตัวขอกู้ลงทุนเพิ่มได้ทันที  

    บริษัทที่ขอกู้จนสุดขีด ชนเพดานเต็มเหยียดตลอดเวลา บ่งบอกถึงอุปนิสัยของผู้บริหาร และมีความเสี่ยงสูงที่จะประกาศเพิ่มทุนในอนาคตอันใกล้ครับ







     8.   บุคลิกองค์กรเป็นอย่างไร

     ทุกองค์กรจะมีบุคลิกประจำตัว องค์กรที่มีบุคลิก “ ริเริ่ม ” และ  “ พัฒนาตลอดเวลา ” ย่อมดีกว่า “อยู่ไปวันๆ” ครับ

    บุคลิกองค์กร หมายถึง พฤติกรรมที่สร้างจากคนในองค์กร และยึดถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติในองค์กรนั้น     

   องค์กรที่มีบุคลิกแบบ entrepreneurial   เช่น แสวงหาการเติบโต  มีแผนจะทำอะไรใหม่ๆ โปรเจคเพิ่มรายได้ของปีนี้คืออะไร ย่อมเติบโตได้ดีกว่าบุคลิกแบบ “ ร้านเกี๋ยวเตี๋ยวขี้เกียจ ” คือ  ทำเช้าชาม เย็นชาม  หรือ จ่ายเงินเดือน จ่ายปันผลไปเรื่อยๆครับ

   ที่สำคัญลอง track อดีตว่า บริษัทเคยตั้งเป้าหมายแล้วสามารถทำได้ใกล้เคียงบ่อยแค่ไหน

   การตรวจสอบผล งานในอดีตเป็นวิธีที่ดีกว่าการใช้ความรู้สึกตัดสินผู้บริหารครับ


       สุดท้ายนี้ คุณนรินทร์ แนะนำว่า 8 ประเด็นนี้ แม้จะไม่ได้ลงลึกมากนัก ก็ถือว่าเพียงพอแล้วครับ หากมีการบริหารพอรต์ร่วมด้วย 

     ไม่จำเป็นที่จะต้องหา หุ้นที่ได้ A+ ในประเด็นเหล่านี้ทุกประเด็น เพราะยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา  ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ได้ B+ ในประเด็นเหล่านี้สัก 4-6 บริษัท กลับจะดีกว่า bet กับบริษัท A+ แค่เพียงแค่ 1-2 บริษัท


    เพราะยังไงเราก็ต้องเผื่อความผิดพลาดในการมองของตัวเราเองด้วยเสมอ  จึงควรอาศัยภาพรวมของพอร์ตมากกว่าการพึ่งพาหุ้นเด็ดตัวใดตัวหนึ่งแค่ตัวเดียวครับ



นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน

https://www.facebook.com/stockforlife
Read More »
Google