วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

5 กลยุทธ์บุกตลาด AEC

1 มกราคม 2559 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC อย่างเป็นทางการแล้วนะครับ


AEC คือ การร่วมกันทางเศรษฐกิจของ 10 ประเทศ
คือ ไทย  พม่า ลาว เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน
สิ่งที่เกิดคือ การยกเลิกภาษีและทลายกำแพงกีดกันการค้าระหว่างประเทศสมาชิกAEC 
ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจไทยส่งสินค้าไปขายยังประเทศกลุ่ม AEC ง่ายขึ้นเพราะต้นทุนค่าดำเนินการลดลงมาก


จุดเด่นของ AEC คือประชากรรวมกันเกือบ 600 ล้านคน GDPเติบโตต่อเนื่อง
มีคนวัยทำงานจำนวนมากและเป็นกลุ่มคนที่รายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้ AEC มีกำลังบริโภคขนาดมหึมาและมีแนวโน้มต้องการสินค้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการธุรกิจไทยในการขยายธุรกิจ
เพราะได้รับประโยชน์เรื่องภาษีและสิทธิการค้าในฐานะสมาชิกของ AEC
อีกทั้งความต้องการสินค้าใน AEC ยังมีอีกมาก


อย่างไรก็ตาม การบุกตลาด AEC ต้องมีกลยุทธที่ดี
เพราะอย่าลืมว่า ผู้ประกอบการจากประเทศอื่นใน AEC ก็ได้สิทธิประโยชน์เหมือนกัน
ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง
โดยผมได้สรุป 5 กลยุทธ์ ที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการก้าวสู่ตลาด AEC ดังนี้








กลยุทธ์ที่ 1 ศึกษาตลาดใหม่ ๆ ที่ใหญ่ขึ้น
ผู้ประกอบการธุรกิจควรเลือกตลาดเป้าหมายให้สอดคล้องกับสินค้าหลักของตนเอง
เพราะเป็นสินค้าที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว
โดยควรศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อม ภาวะเศรษฐกิจ
รวมถึงรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดอาเซียนเพื่อเลือกเข้าสู่ตลาดที่ถูกต้อง



กลยุทธ์ที่  2 เรียนรู้คู่แข่ง
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องศึกษาคู่แข่งเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะแข่งขันได้
โดยต้องวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่ง 

แล้วปรับปรุงสินค้าของเราให้แตกต่างและดีกว่า
เพื่อจะได้ถูกใจผู้บริโภคมากขึ้น



กลยุทธ์ที่  3 ใช้ประโยชน์จากการงดเว้นภาษีและการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี 
เมื่อเปิดตลาด AEC การนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศในกลุ่มอาเซียนจะไม่เสียภาษี
การย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่เหมาะสมก็ง่ายขึ้น
ผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จากมาตรการเหล่านี้ เพราะทำให้ต้นทุนสินค้าถูกลง
นอกจากนี้การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีใน 7 สาขา

คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี
จะทำให้หาแรงงานที่มีฝีมือและค่าจ้างไม่แพงง่ายขึ้น



กลยุทธ์ที่  4 ศึกษากฎระเบียบของประเทศต่างๆ
ผู้ประกอบการธุรกิจต้องเข้าใจในกฎหมาย กติกาการค้าระหว่างประเทศหรือประเทศคู่ค้า “Term of Trade”
การลงทุน การทำสัญญา และกฎหมายการค้าของประเทศที่อยู่ในอาเซียน
เพื่อประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการส่งออกสินค้า
อีกทั้งยังช่วยป้องกันการถูกหลอกจากบริษัทคู่ค้าและเจ้าหน้าที่ในประเทศนั้นๆ ได้อีกด้วย


กลยุทธ์ที่ 5  ทำลายกำแพงภาษา
ผู้ประกอบการธุรกิจควรจะส่งเสริมให้บุคลากรในบริษัทใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
เพื่อสะดวกในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ
ยิ่งหากมีบุคลากรที่สื่อสารภาษาท้องถิ่นได้
เช่น ภาษามาเลเซีย ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า และภาษาอื่นๆ ในอาเซียน
ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการบรรลุข้อตกลงทางธุรกิจให้ง่ายขึ้น

ใครที่อยากทำธุรกิจบุกตลาด AEC อย่าลืมนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้
พร้อมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น เทรนด์ SME ที่เหมาะกับ AEC นะครับ


The end


สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google