วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ติดดอยหุ้น ทำไงดี




(1) วิเคราะห์ว่า หุ้นที่ติดดอย เป็นหุ้นดีหรือไม่
หุ้นดีคือหุ้นของบริษัทฯที่ธุรกิจผูกขาดหรือคู่แข่งน้อย
สินค้าเป็นที่นิยมของตลาดและมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าเป็นหุ้นดี ก็ไม่ต้องขาย ให้ซื้อเพิ่ม
เพราะหุ้นดีที่กำไรโตต่อเนื่อง
ราคาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะยาว
ดังนั้นโอกาสที่ราคาหุ้นจะกลับไปจุดเดิมยังมี


อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาด้วยว่า
หุ้นที่ติดดอยมีสัดส่วนเป็นกี่% ของ.พอร์ต
หากมากกว่า 30% ก็ไม่ควรซื้อเพิ่ม
เพราะเราอาจคิดผิดก็ได้
หากอนาคตเฉลยว่าหุ้นไม่ดีอย่างที่คิด
การซื้อเฉลี่ยขาลงจะยิ่งเปิดแผลให้ใหญ่ขึ้น
เนื่องจากราคาหุ้นอาจตกต่ำมากอย่างที่คุณคาดไม่ถึง
ดังนั้น เราจึงไม่ควรทุ่มเทกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
เพราะหากพลาด ความเสียหายจะรุนแรงมาก


(2) หากหุ้นที่ติดดอย เป็นหุ้นไม่ดี
คือ กำไรขึ้นๆลงๆ คู่แข่งมาก ปันผลสาบสูญ
ให้พิจารณาว่า หากขายทิ้งแล้ว ยอมรับผลขาดทุนได้หรือไม่
หากได้ ก็คิดเสียว่าเพื่อนยืมเงินไปแล้วไม่ใช้
แล้วเริ่มต้นกับหุ้นตัวใหม่ดีกว่า


ทำไมจึงไม่ควรถือหุ้นไม่ดีในตลาดหุ้นขาลง
เพราะราคาอาจลงต่ออีกมาก
อย่าว่าแต่หุ้นไม่ดี แม้แต่หุ้นเกรดAที่มีกิจการผูกขาด
อดีตกำไรเป็นหมื่นล้าน
ปัจจุบันยังลงมาในระดับราคาที่ไม่เห็นด้วยตาคงไม่เชื่อ
ดังนั้นการตัดใจขายขาดทุนคือการประกันความเสี่ยงว่า
เงินทุนจะไม่หายไปมากกว่านี้


แต่หากผลขาดทุนทางบัญชีมากเกินกว่าจะขายขาดทุนได้ ให้ทำข้อ 3

(3) ขายสูงซื้อต่ำ หรือ short against port 
หากวิเคราะห์ว่าหุ้นที่ติดดอยราคาจะลดลงอีก
ให้ขายหุ้นจำนวนหนึ่ง แล้วซื้อกลับที่ราคาต่ำกว่าเดิม
เช่น ติดดอยหุ้นA จำนวน 1000 หุ้น ราคาปัจจุบัน1บาท
ให้ขายทิ้ง500หุ้น
เมื่อราคาหุ้นAลดลงเหลือ 0.9 บาท
ให้นำเงินสดจากการขายหุ้นที่ราคา1 บาท มาซื้อหุ้นคืน

ผลที่เกิดคือ ต้นทุนต่อหุ้นจะต่ำลง
เพราะจ่ายเงินเท่าเดิมแต่มีจำนวนหุ้นมากขึ้น
เมื่อราคาหุ้นหยุดตกและเพิ่มขึ้น
คุณจะหลุดดอยได้ไวหรือเสียหายน้อยลง
หรือหากสถานเลวร้ายสุดขีดคือราคาหุ้นไม่ฟื้นอีกเลย
การขายสูงซื้อต่ำทำให้คุณไม่เจ๊งหนักขึ้น
ซึ่งดีกว่าอยู่เฉยๆโดยไม่ทำอะไรเลย


ดูคำอธิบายว่า ลดต้นทุนแก้ปัญหาติดดอยได้อย่างไรที่
http://www.thaitfstock.com/2016/01/blog-post.html




คำถามคือ แล้วจะรู้ได้ไงว่า ราคาหุ้นจะลงต่อ
คำตอบส่วนตัวผมคือ ดูจากกราฟราคาหุ้นซึ่งบอกเราว่า
หุ้นมีโอกาสลงต่อหรือขึ้นมากกว่ากัน (แม้จะไม่ถูกทุกครั้งก็ตาม)
กราฟบอกถึง Demand & Supply ของหุ้น
หากความต้องการซื้อมาก โอกาสที่ราคาเพิ่มย่อมมากกว่าลด
กลับกัน หากความต้องการขายมาก
ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่ราคาหุ้นจะลดลงต่อ


ทั้งหมดข้างต้นก็เป็นวิธีแก้ปัญหาติดดอยแบบของผม
หวังว่าคนที่มีปัญหาติดหุ้นคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย


ขอบคุณครับ
ท็อป
#เล่นพื้นฐานผสานเทคนิค

สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

Read More »

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หุ้น หลักการวิเคราะห์ราคาและปริมาณซื้อขาย

คลิ๊กซ้ายที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย

















สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

Read More »

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หุ้น BTS


หุ้น BTS

BTS ทำธุรกิจบริหารระบบขนส่งมวลชน,โฆษณา,อสังหาและอื่นๆ
BTS เชี่ยวชาญธุรกิจบริหารระบบขนส่งมวลชน เนื่องจากทำมานาน
ธุรกิจนี้มีข้อดีคือ หากชนะสัมปทาน จะกินรวบ เพราะไม่มีคู่แข่ง
รายได้ก็มั่นคง เพราะรถไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น
เนื่องจากกรุงเทพมีสภาพจราจรที่เลวร้าย
ยิ่งวันไหนฝนตกหนัก ถนนเมืองหลวงก็ไม่ต่างจากที่จอดรถกลางกรุง
ดังนั้นคนกรุงเทพจึงขาดรถไฟฟ้าไม่ได้
เพราะช่วยประหยัดเวลาเดินทางมาก


ด้านธุรกิจโฆษณา BTS ใช้ความได้เปรียบเรื่องสิทธิบริหารรถไฟฟ้าเจ้าเดียว
ตั้งราคาโฆษณาตามใจ(ผ่านบริษัทลูกคือ VGI)
ความจำเป็นของรถไฟฟ้าและปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทุกปี
คือ หัวใจสำคัญ ที่ทำให้เจ้าของสินค้าต้องยอมจ่าย
เพราะมีคนเห็นโฆษณาเพิ่มขึ้นทุกปี
ธุรกิจโฆษณาในรถไฟฟ้าจึงมีรายได้ค่อนข้างมั่นคง
แถมกำไรดี เพราะต้นทุนต่ำมาก



กำไรของรถไฟฟ้า มี EBITDA สูงมาก

รายได้ธุรกิจโฆษณา

สรุปคือ ธุรกิจขนส่งมวลชนและโฆษณาในรถไฟฟ้า
สร้างรายได้ให้ BTS อย่างมั่นคง เพราะเป็นธุรกิจผูกขาด


ส่วนความเสี่ยง อยู่ที่สัมปทานมีวันหมดอายุ
หาก BTS ไม่ได้ต่อสัญญา กำไรจะร่วงลงอย่างหนัก
เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของ BTS มาจากสัมปทาน
ดังนั้นเมื่อใกล้หมดสัมปทาน ต้องลุ้นหนักว่าจะได้ต่อสัญญาหรือไม่


-------------

การเติบโต

โอกาสที่รายได้ของ BTS จะโตพรวดพราดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นเรื่องยาก
เพราะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีเต็มที่แล้ว
โดยปี 2556 BTS ขายรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากรถไฟฟ้าสายหลัก
ตลอดอายุสัมปทานที่เหลืออยู่ 17 ปี ไปให้กองทุน BTSGIF แล้ว
แลกกับถือหุ้น BTSGIF 30% (1ใน3 ของจำนวนหุ้น BTSGIF)
, สิทธิรับจ้างเดินรถไฟฟ้า และเงินสดก้อนโต
ทำให้ “ปริมาณรายได้” ในส่วนธุรกิจรถไฟฟ้าลดลง
เพราะแต่เดิมเข้ากระเป๋า BTS เต็มๆ
แต่ตอนนี้ต้องผ่าน BTSGIF ก่อน
แล้วเหลือให้ BTS ในรูปแบบเงินปันผลและค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าเท่านั้น


ส่วนการโตของรายได้โฆษณาบนรถไฟฟ้าคงเพิ่มแบบเบาๆ ไม่หวือหวา
เพราะใช้พื้นที่โฆษณาเต็มแล้ว
จะหวังจากสื่อโฆษณาในสถานที่อื่นก็ต้องลุ้นหนัก
เพราะคู่แข่งเยอะมาก จึงกำหนดราคาเหมือนบนรถไฟฟ้าไม่ได้







เมื่อเปิดกราฟราคาหุ้น BTS ซึ่งแสดงถึงความเห็นของตลาดหุ้นต่อ BTS
เห็นว่าเป็นการแกว่งตัวบนยอด
ราคาไม่ทำจุดสูงใหม่มานาน แต่ก็ไม่ลดลงเยอะ
ซึ่งสอดคล้องกับสถานะธุรกิจ ที่มั่นคงแต่อิ่มตัว
การซื้อหุ้น BTS ขณะนี้
จึงหวังได้กับปันผลที่ต่อเนื่อง มากกว่าจะได้ส่วนต่างราคาเยอะ


อย่างไรก็ตาม BTS ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต
จากจำนวนรถไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นค่อนข้างแน่
เป็นโอกาสให้ BTS ประมูลสัมปทานใหม่เพื่อเพิ่มรายได้
ตอนนี้ BTS มีเงินสดในมือมหาศาล
ที่มาจากขายรายได้รถไฟฟ้าทั้งหมดให้ BTSGIF
หนี้สินแทบไม่มี ธุรกิจผลิตเงินสดต่อเนื่อง
ดังนั้นหากประมูลสัมปทานครั้งใหม่
BTS ที่พร้อมทั้งเงินทุนและประสบการณ์ จึงกลายเป็นเต็งหาม
อีกทั้งผู้บริหารก็ขยัน หาลู่ทางเติบโตตลอดเวลา
BTS จึงมีโอกาสเติบโตต่อ จากความต้องการขนส่งในไทยที่เพิ่มต่อเนื่อง


-------------

สรุปคือ ปัจจุบัน BTS มีธุรกิจที่รายได้มั่นคงอีกเป็น 10ปี
ตามอายุสัมปทาน เพราะสินค้ามีความจำเป็นและผูกขาด
แต่โอกาสที่รายได้จะเพิ่มพรวดพราดคงยาก
เพราะใช้ทรัพยากรที่มีเต็มที่แล้ว
จึงต้องรอรถไฟฟ้าสายใหม่
อันจะนำมาซึ่งโอกาสเติบโตในอนาคตครับ


-------
คำเตือน บทความข้างต้น เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
มิได้เป็นการชี้นำให้ซื้อขาย นักลงทุนโปรดพิจารณาก่อนตัดสินใจ
Read More »

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หุ้น หลักการปรับพอร์ต (rebalance)



จากบทความที่แล้ว
มีพี่น้องถามว่า มีหลักการปรับพอร์ตอย่างไงบ้าง
ผมจึงขอเขียนรายละเอียดเพิ่ม
เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้งานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

--------

(1)       % สัดส่วนเท่าไหร่
ตามทฤษฎี ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งต้องมีพอร์ตหุ้นน้อย
เพราะหุ้นมีความเสี่ยงจะขาดทุน เนื่องจากเราอาจเลือกหุ้นผิดตัวก็ได้ 
อย่าว่าแต่รายย่อย 
แม้แต่ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพ เก่ง ประสบการณ์มาก 
ก็เลือกหุ้นผิดมานักต่อนัก

เมื่ออายุมาก ช่วงเวลาทำเงินยิ่งน้อย เพราะใกล้เกษียณ  
ร่างกายทรุดลง เข้าโรงพยาบาลบ่อย ทำงานหนักมากเริ่มไม่ไหว
ความเสี่ยงที่หาเงินมาโป๊ะผลขาดทุนไม่ได้จึงสูงขึ้น
จึงเน้นจัดพอรต์ปลอดภัย กำไรพอเพียง
คือ เงินสดและตราสารหนี้มาก หุ้นน้อย เพื่อป้องกันมูลค่าพอร์ตลดลงมาก

คำถามคือ ตัวเลขสัดส่วนเท่าไหร่
คำตอบคือไม่มีตัวเลขเป๊ะๆ ต่างสำนักก็ต่างกัน
แต่อยู่ในทางเดียวกันหมด คือ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยงน้อย
โดยผมมีตัวเลขของ 2 หน่วยงานมาตรฐานเรื่องการเงินระดับประเทศ
คือ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กับ TSI ของตลาดหลักทรัพย์ไทย
ใครชอบอันไหน ก็ใช้ได้ครับ

ที่มา  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)


ที่มา TSI 




(2)             ปรับพอร์ตเมื่อไหร่

พี่นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์  เขียนใน  www.dekisugi.net ว่า
หลักเกณฑ์ปรับพอร์ตมี 3 แบบ

1.           ตาม %  2.  ตามความเห็น  3. ตามเวลา




1. ตาม % หมายถึง กำหนดเป็น % ของหุ้นกับเงินสด  ถึงปุ๊บปรับปั้บ
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรก หุ้นต่อเงินสด 60:40 
เมื่อหุ้นเพิ่มเป็น 70% ก็ขายหุ้นทำกำไร
ปรับพอร์ตเป็น 60:40 เหมือนเดิม

ข้อดีคือ ถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วในช่วงสั้น 
จะไม่พลาดโอกาสทำกำไร หรือหากหุ้นร่วงหนัก ก็ได้ช้อนซื้อหุ้นเช่นกัน 
แต่ข้อเสียคือ หากกำหนดกรอบ % แคบมาก 
เช่น จาก 60:40 เป็น 65:35 หรือ 55:45 
เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นหรือลดลงเต็มที่ ต้องปรับพอร์ตบ่อยมาก 
อีกทั้งต้องเฝ้าดูตลาดหุ้นตลอดด้วย

2.  ตามความเห็น หมายถึง ถ้าคิดว่าราคาหุ้นจะลง ก็ขาย 
แต่ถ้าเห็นว่าราคาขึ้น ก็ซื้อ  
วิธีนี้นักลงทุนต้องใช้วิชา 
เช่น วิเคราะห์วัฏจักรธุรกิจ ประเมินมูลค่า หรือใช้กราฟร่วม (วิธีนี้ผมใช้อยู่
เพื่อฟันธงว่า ในอนาคตอันใกล้ หุ้นจะขึ้นหรือลง 
แล้วซื้อขายตามความเห็นนั้น 

ข้อดีคือ ถ้าถูกก็กำไรเยอะ แต่ถ้าผิด ก็ร้องให้หนักมาก 
อีกทั้งต้องทุ่มเทแรงและเวลาวิเคราะห์หุ้นตลอด

3. ตามเวลา หมายถึง กำหนดเวลาที่แน่นอน 
คือ 1 ไตรมาส หรือ 1 ปี ปรับพอร์ต 1 ครั้ง 
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรกหุ้นต่อเงินสด 60:40 
ผ่านไป 1 ปี ก็ซื้อหรือขายหุ้นให้เป็น 60:40 เหมือนเดิม 
โดยมีงานวิจัยว่า ระยะยาว ไม่ว่าจะแบบ ไตรมาสครั้ง หรือ ปีครั้ง 
ผลตอบแทนไม่ต่างกันมาก  
ดังนั้นจะเลือกแบบไหนก็ได้ (แต่ปีเสียเวลาในชีวิตน้อยกว่า

วิธีนี้ข้อดีคือ ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเฝ้าตลาดหุ้น 
แต่ข้อเสียคือ ผลตอบแทนกลางๆ ไม่กำไรสูงมากแต่ไม่แย่

--------

คำถามคือ วิธีไหนดีที่สุด
คำตอบคือ ขึ้นกับความพอใจและประสบการณ์ 
ส่วนตัวเสนอว่า ช่วงแรกอาจเริ่มด้วย ตามเวลา เพราะง่ายต่อการปฏิบัติ 
แล้วหาความรู้ แนวทางเฉพาะตัว เพิ่มประสบการณ์ 
จึงค่อยเปลี่ยนหลักเกณฑ์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น
(แต่อย่าลืมชั่งน้ำหนักความเสี่ยงด้วย
ก็จะได้การบริหารพอร์ตแบบที่โดนใจเราครับ 

สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

Read More »

สอนเล่นหุ้น- บริหารความเสี่ยงอย่างไรในตลาดหุ้นขาลง



มี 2 คำถามน่าสนใจถามผมหลังไมค์

1. เป็นคนเล่นรอบ หุ้นตกเยอะ ช้อนซื้อดีไหม
ตอบ หากครบเงื่อนไข ซื้อเลย ตอนนี้โอกาสดี

2. ไม่กล้าซื้อหุ้น เพราะกลัวหุ้นลงต่อ 
หากซื้อแล้ว SET ไป 1200 1100 900 และ ต่ำลงเรื่อยๆ 
แบบนั้นไม่ขาดทุนกระจายหรือ
ตอบ เพราะอย่างงี้ไง ถึงต้องมีการบริหารความเสี่ยง

-------
ขยายความ
คำถามแรก

ลองนึกภาพ มีทางสามแยก 
ทางซ้ายมีไฟเขียวแดง ทางขวาก็เหมือนกัน 
ทั้ง 2 แยกสามารถนำเราไปสู่จุดหมายได้
ปัจจุบันทางซ้ายเป็นไฟเขียว ทางขวาเป็นไฟแดง
คำถามคือ เราจะเลี้ยวทางไหน เพื่อไปถึงจุดหมายไวที่สุด ??

ในชีวิตจริง เมื่อเราเห็นแยกที่เปิดไฟเขียว 
เราอาจเลี้ยวทางนั้น เพราะคิดว่าจะผ่านแยกได้
แต่เมื่อใกล้แยก ไฟเขียวมักเปลี่ยนเป็นแดง เลยไปต่อไม่ได้
ดังน้นคำตอบที่ถูกคือ ไปทางไฟแดง 
เพราะเมื่อขับถึงแยก ไฟแดงมักเปลี่ยนเป็นเขียว 
เราจึงไปได้เร็วกว่า

การซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน หากท่านเล่นรอบ ต้องซื้อตอนหุ้นตก 
เพราะตลาดหุ้นเหมือนไฟเขียวแดง
คือ เปลี่ยนไปมา เป็นวัฏจักร 
ซื้อหุ้นตอนร่วงแรง จะได้ของถูก ซื้อแล้วก็รอ 
เมื่อเวลาผ่านไป ตลาดหุ้นจะเปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น 
ราคาหุ้นจะสูงกว่าตอนซื้อ 
เราจึงขายมีกำไร เก็บเงินสดไว้ รอรอบต่อไป

หากเราซื้อตอนราคาหุ้นขึ้นสูง จะมีต้นทุนแพงแถมเสี่ยง
เพราะวันหนึ่ง ราคาหุ้นจะเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง
ยิ่งซื้อตอนหุ้นขึ้นมากๆ ก็เหมือนแยกที่ไฟเขียวมานานแล้ว
โอกาสแดงมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นสำหรับนักเล่นหุ้นประเภทเล่นรอบ
การซื้อหุ้นเมื่อราคาขึ้นสูงแล้ว มักจบด้วยความผิดหวังเป็นส่วนมาก

----------

คำถามสอง
รู้ว่าซื้อตอนตกหนักได้ของถูก 
แต่กลัวว่าราคาหุ้นจะไหลลงยาว จนขาดทุนบักโกรก 
จะแก้ปัญหาอย่างไร ??

ในตลาดหุ้น ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน 
ไม่มีใครคาดการณ์อนาคตได้
หากเราคาดว่าซื้อตอนถูกแล้ว แต่เราอาจถูกหรือผิดก็ได้
คือ ราคาหุ้นอาจกลับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้อีกเพียบ 
ดังนั้น จึงต้องมีการ บริหารความเสี่ยง
ซึ่งหมายถึง การเตรียมแผนเมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นตามที่คิด

โดยบทความนี้จะกล่าวถึงการบริหารความเสี่ยงด้วย 
Asset Allocation / Rebalance 
Asset Allocation คือ การแบ่งสัดส่วนระหว่างหุ้นกับเงินสด 
ส่วน Rebalance คือ การปรับพอร์ตให้สัดส่วนคงเดิม 
เมื่อเวลาผ่านไป

ตัวอย่างเช่น คือ สมมุติ คุณมีเงินทุน 1 ล้านบาท
แบ่งสัดส่วนหุ้นกับเงินสด (Asset Allocation) เป็น 50 : 50 
คือซื้อหุ้นมูลค่า 5 แสน ถือเงินสด 5 แสน
เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน 
ราคาหุ้นลดลง เหลือมูลค่า 4 แสน
ดังนั้นพอร์ตรวมเหลือมูลค่า 9 แสน 
โดยมีสัดส่วนคือ หุ้น 45% และเงินสด 55% 
คุณจึงปรับพอร์ตให้สัดส่วน 50 : 50 เท่าเดิม (Rebalance)
คือ ถือเงินสด 4แสนห้า อีก 5หมื่นมาซื้อหุ้น 
โดย 6 เดือนหน้า ก็ทำกระบวนการแบบนี้อีก

จะเห็นว่า Asset Allocation / Rebalance มีข้อดีคือ
(1) เมื่อแบ่งสัดส่วนหุ้นกับเงินสด 
หากราคาหุ้นตกหนัก ความเสียหายจะเกิดน้อย 
จากตัวอย่าง แม้ราคาหุ้นลดลงถึง 25% 
แต่พอร์ตรวมจะขาดทุนแค่ 10% 
ถ้าซวยหนักลดลง 50% 
พอร์ตรวมจะขาดทุน 25% เท่านั้น 
ซึ่งต่างกับการซื้อเฉลี่ยขาลงจนเงินสดหมดหน้าตัก 
เพราะหากราคาหุ้นไม่ฟื้นอีกเลย ความเสียหายจะถึงเลวร้ายมาก

(2) ในกรณีราคาหุ้นตกต่อเนื่องยาวนาน 
ก็มีเงินสดซื้อหุ้นเพื่อลดต้นทุนเสมอ 
ต้นทุนถูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อราคาเปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น 
หากขาดทุนจะคืนทุนไว หากกำไรก็จะกำไรมากขึ้น

(3) หากหุ้นขึ้นก็ทำกำไรได้ 
จากตัวอย่างที่แล้ว ถ้าราคาหุ้นฟื้นตัว 
เพิ่มขึ้นจนมูลค่าหุ้นเท่ากับ 7 แสน 
พอร์ตรวมจะมีค่า 7 แสน(มูลค่าหุ้น) + 4.5แสน (เงินสด) 
มีสัดส่วน หุ้น 61% เงินสด 49%
จึงขายหุ้นทำกำไร 1 แสนห้าหมื่น 
เพื่อปรับสัดส่วนหุ้น : เงินสด เป็น50 : 50 เท่าเดิม 
จะเห็นว่า วิธีนี้ช่วยให้คุณล็อคกำไรได้ด้วย 
เพราะ หากซื้อแล้วถือไว้เฉยๆ 
เมื่อราคาหุ้นลดลงอีกครั้ง ก็พลาดโอกาสทำกำไรเป็นรอบๆ



สรุป
หากเราทำ Asset Allocation / Rebalance ต่อเนื่อง
พอร์ตของเราจะปลอดภัยและมีผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 
เพราะตลาดขาลงไม่เสียหายมาก 
มีเงินสดช้อนซื้อหุ้นตลอด ขาขึ้นทำกำไรได้ 
ยิ่งหากหุ้นในพอร์ตเป็นหุ้นพื้นฐานดี ปันผลงาม 
ก็เหมือนเรามีฟาร์มห่านทองคำที่ออกไข่เป็นปันผลให้เราเรื่อยๆ เป็นการสร้างกระแสเงินสด (cashflow) อีกทางครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดี
------

ขอบพระคุณครับ
ท็อป


Read More »

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สอนเล่นหุ้น- เข้าคอร์สหุ้นอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

มีพี่น้องถามประเด็นซึ่งน่าสนใจ คือ

เข้าคอร์สหุ้นหลายคอร์ส

แต่ยังเจ๊ง ติดดอย ขาดทุน

จึงมีคำถามว่า ปัญหาคืออะไร

และแก้ไขอย่างไรดี



ภาพจาก http://www.maoinvestor.com/


จากประสบการณ์ตรง

ที่เรียนคอร์สหุ้นมาพอสมควร

เห็นว่า "เรียนแล้วไม่ได้ผล"

เกิดจาก 2 ประเด็น

คือ รู้ด้านเดียว กับ การปฏิบัติตามทฤษฎี



-------------------


1. รู้ด้านเดียว 

เวลาเข้าคอร์สหุ้น

เรามักเรียน "ข้อดี" ของคอร์สนั้น

เช่น กำไรมาก แม่นยำ ประสบความสำเร็จอย่างไร

แต่ความจริงคือ

ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ

ระบบลงทุนเช่นกัน

ย่อมมี"จุดเด่น" และ "จุดด้อย"

ซึ่งจุดด้อย คือ

เวลา หรือ เงื่อนไข ที่ระบบลงทุนไม่ได้ผล

ตัวอย่างเช่น ระบบลงทุนตามแนวโน้ม

จุดด้อยคือ เมื่อตลาดหุ้นเกิดแนวโน้มขาลง หรือ sideway

มักขาดทุน มากกว่ากำไร เป็นต้น




ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย



เหตุผลหนึ่งที่เรียนคอร์สหุ้น

แต่ยังขาดทุน เจ๊ง ไม่ประสบความสำเร็จ

มาจากรู้ข้อดี แต่ไม่รู้ข้อเสีย

ไม่รู้เวลาไหนใช้ดี ไม่ดี

เพราะเมื่อเล่นหุ้น ในภาวะที่เป็น "จุดอ่อน" ของระบบ

จะผิดมากกว่าถูก

ทุนเริ่มหาย กำไรหด

เงินที่ได้มา คืนตลาดเกลี้ยง

บางคนโชคร้าย ติดดอย ขาดทุนยับ



ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

คอร์สเล่นหุ้นที่เรียนจบ แล้วใช้ได้จริง

ผู้สอนจะรู้ลึก รู้จริง ในจุดอ่อน จุดแข็ง อย่างทะลุปุรโปร่ง

รู้เวลาใดควร ไม่ควร

มีวิธีแก้ปัญหา หากเหตุการณ์ไม่เป็นตามทฤษฎี

แล้วชี้แจงให้ผู้เรียน ได้ข้อมูลครบถ้วน

ดังนั้นเมื่อเวลาที่เป็นจุดอ่อนมาถึง

ผู้เรียนจึงรู้ และหลีกเลี่ยงขาดทุนหนักสำเร็จ

เลยรักษากำไรและเงินทุนได้



ส่วนคอร์สที่เรียนแล้ว ไม่เวิร์ค

คือคอร์สที่พูดแต่จุดเด่น

ยกตัวอย่างเฉพาะกรณีที่สำเร็จ

แต่ไม่บอก จุดด้อย เวลาใดควรไม่ควร

ไม่บอกว่า หากมีสถานการณ์ไม่เหมือนทฤษฎีที่สอน
จะแก้ไขอย่างไร

ทำให้เมื่อเล่นหุ้นจริง และเกิดเหตุไม่เหมือนตอนเรียน(ซึ่งมักเจอบ่อย)

ผู้เรียนจึงแก้ปัญหาไม่ได้

เลยขาดทุน ติดดอย หายนะ

จนเล่นหุ้นไม่สำเร็จในที่สุด



สรุปคือ การเข้าคอร์สหุ้นให้

มีกำไร ต้องรู้ข้อดี และ ข้อเสีย แบบทะลุปุโปร่ง

เพื่อซื้อขายได้ถูกจังหวะ

และปกป้องเงินทุนได้

ในวันที่ฟ้าไม่เป็นใจนั่นเองครับ


-------------------



2. นำทฤษฎีมาปฎิบัติ

แม้เจออาจารย์ที่เก่ง รู้ลึก รู้จริง

แต่ไม่ได้หมายความว่า

คุณจะเล่นหุ้นแล้ว ไม่ขาดทุน กำไร ประสบความสำเร็จ

เพราะความสำเร็จ เกิดจากนำทฤษฎี มาปฏิบัติได้

ดังนั้น ถึงมีที่ปรึกษาขั้นเทพ

แต่ปฏิบัติตามไม่ได้ ก็ไร้ค่า



คำถามคือ ทำไมจึงทำไม่ได้

คำตอบคือ เกิดจาก

จริต และ ความตั้งใจ


จริต คือ นิสัย ความคิด มุมมอง

ชอบไม่ชอบอะไร ในแบบของเรา

หากวิธีและคำแนะนำของผู้สอน

สวนทางกับจริตของผู้เรียนแบบ 180 องศา 

มีแนวโน้มสูงเท่าต้นตาล

ที่ผู้เรียนปิบัติตามคำสอนแล้วล้มเหลว

เพราะคนเมื่อทำสิ่งไม่ชอบ

จะเบื่อ เซ็ง หงุดหงิด

ขาดความกระตือรืนร้น ที่จะเรียนรู้อย่างรุนแรง

ดังนั้น ก็คงไม่แปลก

หากเราไม่ชอบสิ่งใด

จะทำสิ่งนั้นไม่ได้ และล้มเหลวในที่สุด



ตัวอย่างเช่น

ผู้สอนเก่งการเล่นหุ้นตามแนวโน้ม (trend following)

ซึ่งต้องทำเหมือน พลปืนซุ่มยิง (Sniper)

คือใจเย็นเป็นน้ำแข็ง

อดทน รอคอยได้นาน

หากไม่มีจังหวะสวยๆ

ก็รอได้ เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน

เมื่อซื้อแล้วถูกทาง

ก็ไม่รีบขาย ทนรวยได้นาน



แต่ถ้าคุณเป็นคนใจร้อน

ไม่อยากถือหุ้นนาน ชอบซื้อขายบ่อย

การให้ปฎิบัติแบบนักเล่นหุ้นตามแนวโน้ม

ก็เหมือน ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า

คือกล้ำกลืนฝืนใจทำ

สุดท้าย จะล้มเหลวในที่สุด



ดังนั้นหากคุณรู้จริต นิสัย ตัวตนคุณ

แล้วเลือกคอร์สหุ้น ให้เหมาะกับนิสัย

จะได้ประโยชน์หนักมาก

เพราะเป็นการ put the right man on the right job

ขับเคลื่อนวิธีเล่นหุ้น บนจุดเด่นของคุณ

คุณจึงรู้สึกดี สนุก ไม่ฝืน

กระตือรือร้น ขนขวาย ที่ทำให้ตัวเองเก่งขึ้น

จึงมีโอกาสสูง ที่จะปฎิบัติตามคำแนะนำ ได้สำเร็จ




ใช้คนให้ถูกงาน 


สุดท้าย คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจ

เมื่อคุณมีที่ปรึกษาที่เก่ง รู้ลึก รู้จริง

เมื่อคุณรู้จริต และ รู้แนวทางเล่นหุ้นแบบคุณ

และหากคุณเพิ่ม ความมุ่งมั่นตั้งใจ

เรียนรู้จริงจัง ขยันอย่างบ้าคลั่ง

ต่อสู้กับอุปสรรคปัญหา อย่างทรหดอดทน

ผลคือ คุณจะเล่นหุ้นเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ชำนาญ เชี่ยวชาญ แก้ปัญหาได้

แล้วมันจะไม่สำเร็จได้ไงล่ะครับ ??

-------------------


สรุป

การเข้าคอร์สหุ้นให้ประสบความสำเร็จ

ไม่ขาดทุน ติดดอย มีกำไร

ต้องได้ครบ 3 ข้อ

1. รู้ จุดเด่น จุดด้อย

ของวิธีเล่นหุ้นที่เรียน อย่างทะลุปรุโปร่ง

2. รู้จริตนิสัย ตัวเอง

ชอบ ไม่ชอบ อะไร

แล้วเลือกคอร์สหุ้นให้เหมาะกับตัวเอง

3. มุ่งมั่นตั้งใจ ขยัน ไม่ยอมแพ้


หากมีครบ 3 ข้อ

การเข้าคอร์สหุ้น จะเกิดประโยชน์มาก

ส่งผลให้คุณเล่นหุ้นเก่ง มีกำไร

และประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ




Read More »
Google