วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หุ้น หลักการปรับพอร์ต (rebalance)



จากบทความที่แล้ว
มีพี่น้องถามว่า มีหลักการปรับพอร์ตอย่างไงบ้าง
ผมจึงขอเขียนรายละเอียดเพิ่ม
เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้งานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

--------

(1)       % สัดส่วนเท่าไหร่
ตามทฤษฎี ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งต้องมีพอร์ตหุ้นน้อย
เพราะหุ้นมีความเสี่ยงจะขาดทุน เนื่องจากเราอาจเลือกหุ้นผิดตัวก็ได้ 
อย่าว่าแต่รายย่อย 
แม้แต่ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพ เก่ง ประสบการณ์มาก 
ก็เลือกหุ้นผิดมานักต่อนัก

เมื่ออายุมาก ช่วงเวลาทำเงินยิ่งน้อย เพราะใกล้เกษียณ  
ร่างกายทรุดลง เข้าโรงพยาบาลบ่อย ทำงานหนักมากเริ่มไม่ไหว
ความเสี่ยงที่หาเงินมาโป๊ะผลขาดทุนไม่ได้จึงสูงขึ้น
จึงเน้นจัดพอรต์ปลอดภัย กำไรพอเพียง
คือ เงินสดและตราสารหนี้มาก หุ้นน้อย เพื่อป้องกันมูลค่าพอร์ตลดลงมาก

คำถามคือ ตัวเลขสัดส่วนเท่าไหร่
คำตอบคือไม่มีตัวเลขเป๊ะๆ ต่างสำนักก็ต่างกัน
แต่อยู่ในทางเดียวกันหมด คือ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยงน้อย
โดยผมมีตัวเลขของ 2 หน่วยงานมาตรฐานเรื่องการเงินระดับประเทศ
คือ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กับ TSI ของตลาดหลักทรัพย์ไทย
ใครชอบอันไหน ก็ใช้ได้ครับ

ที่มา  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)


ที่มา TSI 




(2)             ปรับพอร์ตเมื่อไหร่

พี่นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์  เขียนใน  www.dekisugi.net ว่า
หลักเกณฑ์ปรับพอร์ตมี 3 แบบ

1.           ตาม %  2.  ตามความเห็น  3. ตามเวลา




1. ตาม % หมายถึง กำหนดเป็น % ของหุ้นกับเงินสด  ถึงปุ๊บปรับปั้บ
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรก หุ้นต่อเงินสด 60:40 
เมื่อหุ้นเพิ่มเป็น 70% ก็ขายหุ้นทำกำไร
ปรับพอร์ตเป็น 60:40 เหมือนเดิม

ข้อดีคือ ถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วในช่วงสั้น 
จะไม่พลาดโอกาสทำกำไร หรือหากหุ้นร่วงหนัก ก็ได้ช้อนซื้อหุ้นเช่นกัน 
แต่ข้อเสียคือ หากกำหนดกรอบ % แคบมาก 
เช่น จาก 60:40 เป็น 65:35 หรือ 55:45 
เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นหรือลดลงเต็มที่ ต้องปรับพอร์ตบ่อยมาก 
อีกทั้งต้องเฝ้าดูตลาดหุ้นตลอดด้วย

2.  ตามความเห็น หมายถึง ถ้าคิดว่าราคาหุ้นจะลง ก็ขาย 
แต่ถ้าเห็นว่าราคาขึ้น ก็ซื้อ  
วิธีนี้นักลงทุนต้องใช้วิชา 
เช่น วิเคราะห์วัฏจักรธุรกิจ ประเมินมูลค่า หรือใช้กราฟร่วม (วิธีนี้ผมใช้อยู่
เพื่อฟันธงว่า ในอนาคตอันใกล้ หุ้นจะขึ้นหรือลง 
แล้วซื้อขายตามความเห็นนั้น 

ข้อดีคือ ถ้าถูกก็กำไรเยอะ แต่ถ้าผิด ก็ร้องให้หนักมาก 
อีกทั้งต้องทุ่มเทแรงและเวลาวิเคราะห์หุ้นตลอด

3. ตามเวลา หมายถึง กำหนดเวลาที่แน่นอน 
คือ 1 ไตรมาส หรือ 1 ปี ปรับพอร์ต 1 ครั้ง 
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรกหุ้นต่อเงินสด 60:40 
ผ่านไป 1 ปี ก็ซื้อหรือขายหุ้นให้เป็น 60:40 เหมือนเดิม 
โดยมีงานวิจัยว่า ระยะยาว ไม่ว่าจะแบบ ไตรมาสครั้ง หรือ ปีครั้ง 
ผลตอบแทนไม่ต่างกันมาก  
ดังนั้นจะเลือกแบบไหนก็ได้ (แต่ปีเสียเวลาในชีวิตน้อยกว่า

วิธีนี้ข้อดีคือ ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเฝ้าตลาดหุ้น 
แต่ข้อเสียคือ ผลตอบแทนกลางๆ ไม่กำไรสูงมากแต่ไม่แย่

--------

คำถามคือ วิธีไหนดีที่สุด
คำตอบคือ ขึ้นกับความพอใจและประสบการณ์ 
ส่วนตัวเสนอว่า ช่วงแรกอาจเริ่มด้วย ตามเวลา เพราะง่ายต่อการปฏิบัติ 
แล้วหาความรู้ แนวทางเฉพาะตัว เพิ่มประสบการณ์ 
จึงค่อยเปลี่ยนหลักเกณฑ์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น
(แต่อย่าลืมชั่งน้ำหนักความเสี่ยงด้วย
ก็จะได้การบริหารพอร์ตแบบที่โดนใจเราครับ 

สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google