วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หุ้น หลักการปรับพอร์ต (rebalance)



จากบทความที่แล้ว
มีพี่น้องถามว่า มีหลักการปรับพอร์ตอย่างไงบ้าง
ผมจึงขอเขียนรายละเอียดเพิ่ม
เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้งานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

--------

(1)       % สัดส่วนเท่าไหร่
ตามทฤษฎี ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งต้องมีพอร์ตหุ้นน้อย
เพราะหุ้นมีความเสี่ยงจะขาดทุน เนื่องจากเราอาจเลือกหุ้นผิดตัวก็ได้ 
อย่าว่าแต่รายย่อย 
แม้แต่ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นมืออาชีพ เก่ง ประสบการณ์มาก 
ก็เลือกหุ้นผิดมานักต่อนัก

เมื่ออายุมาก ช่วงเวลาทำเงินยิ่งน้อย เพราะใกล้เกษียณ  
ร่างกายทรุดลง เข้าโรงพยาบาลบ่อย ทำงานหนักมากเริ่มไม่ไหว
ความเสี่ยงที่หาเงินมาโป๊ะผลขาดทุนไม่ได้จึงสูงขึ้น
จึงเน้นจัดพอรต์ปลอดภัย กำไรพอเพียง
คือ เงินสดและตราสารหนี้มาก หุ้นน้อย เพื่อป้องกันมูลค่าพอร์ตลดลงมาก

คำถามคือ ตัวเลขสัดส่วนเท่าไหร่
คำตอบคือไม่มีตัวเลขเป๊ะๆ ต่างสำนักก็ต่างกัน
แต่อยู่ในทางเดียวกันหมด คือ ยิ่งอายุมาก ยิ่งเสี่ยงน้อย
โดยผมมีตัวเลขของ 2 หน่วยงานมาตรฐานเรื่องการเงินระดับประเทศ
คือ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กับ TSI ของตลาดหลักทรัพย์ไทย
ใครชอบอันไหน ก็ใช้ได้ครับ

ที่มา  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)


ที่มา TSI 




(2)             ปรับพอร์ตเมื่อไหร่

พี่นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์  เขียนใน  www.dekisugi.net ว่า
หลักเกณฑ์ปรับพอร์ตมี 3 แบบ

1.           ตาม %  2.  ตามความเห็น  3. ตามเวลา




1. ตาม % หมายถึง กำหนดเป็น % ของหุ้นกับเงินสด  ถึงปุ๊บปรับปั้บ
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรก หุ้นต่อเงินสด 60:40 
เมื่อหุ้นเพิ่มเป็น 70% ก็ขายหุ้นทำกำไร
ปรับพอร์ตเป็น 60:40 เหมือนเดิม

ข้อดีคือ ถ้าราคาหุ้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วในช่วงสั้น 
จะไม่พลาดโอกาสทำกำไร หรือหากหุ้นร่วงหนัก ก็ได้ช้อนซื้อหุ้นเช่นกัน 
แต่ข้อเสียคือ หากกำหนดกรอบ % แคบมาก 
เช่น จาก 60:40 เป็น 65:35 หรือ 55:45 
เมื่อตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นหรือลดลงเต็มที่ ต้องปรับพอร์ตบ่อยมาก 
อีกทั้งต้องเฝ้าดูตลาดหุ้นตลอดด้วย

2.  ตามความเห็น หมายถึง ถ้าคิดว่าราคาหุ้นจะลง ก็ขาย 
แต่ถ้าเห็นว่าราคาขึ้น ก็ซื้อ  
วิธีนี้นักลงทุนต้องใช้วิชา 
เช่น วิเคราะห์วัฏจักรธุรกิจ ประเมินมูลค่า หรือใช้กราฟร่วม (วิธีนี้ผมใช้อยู่
เพื่อฟันธงว่า ในอนาคตอันใกล้ หุ้นจะขึ้นหรือลง 
แล้วซื้อขายตามความเห็นนั้น 

ข้อดีคือ ถ้าถูกก็กำไรเยอะ แต่ถ้าผิด ก็ร้องให้หนักมาก 
อีกทั้งต้องทุ่มเทแรงและเวลาวิเคราะห์หุ้นตลอด

3. ตามเวลา หมายถึง กำหนดเวลาที่แน่นอน 
คือ 1 ไตรมาส หรือ 1 ปี ปรับพอร์ต 1 ครั้ง 
ตัวอย่างเช่น เริ่มแรกหุ้นต่อเงินสด 60:40 
ผ่านไป 1 ปี ก็ซื้อหรือขายหุ้นให้เป็น 60:40 เหมือนเดิม 
โดยมีงานวิจัยว่า ระยะยาว ไม่ว่าจะแบบ ไตรมาสครั้ง หรือ ปีครั้ง 
ผลตอบแทนไม่ต่างกันมาก  
ดังนั้นจะเลือกแบบไหนก็ได้ (แต่ปีเสียเวลาในชีวิตน้อยกว่า

วิธีนี้ข้อดีคือ ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องเฝ้าตลาดหุ้น 
แต่ข้อเสียคือ ผลตอบแทนกลางๆ ไม่กำไรสูงมากแต่ไม่แย่

--------

คำถามคือ วิธีไหนดีที่สุด
คำตอบคือ ขึ้นกับความพอใจและประสบการณ์ 
ส่วนตัวเสนอว่า ช่วงแรกอาจเริ่มด้วย ตามเวลา เพราะง่ายต่อการปฏิบัติ 
แล้วหาความรู้ แนวทางเฉพาะตัว เพิ่มประสบการณ์ 
จึงค่อยเปลี่ยนหลักเกณฑ์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนมากขึ้น
(แต่อย่าลืมชั่งน้ำหนักความเสี่ยงด้วย
ก็จะได้การบริหารพอร์ตแบบที่โดนใจเราครับ 

สนับสนุนการเรียนรู้ Google Adword โดย SearchMonopoly

Read More »

สอนเล่นหุ้น- บริหารความเสี่ยงอย่างไรในตลาดหุ้นขาลง



มี 2 คำถามน่าสนใจถามผมหลังไมค์

1. เป็นคนเล่นรอบ หุ้นตกเยอะ ช้อนซื้อดีไหม
ตอบ หากครบเงื่อนไข ซื้อเลย ตอนนี้โอกาสดี

2. ไม่กล้าซื้อหุ้น เพราะกลัวหุ้นลงต่อ 
หากซื้อแล้ว SET ไป 1200 1100 900 และ ต่ำลงเรื่อยๆ 
แบบนั้นไม่ขาดทุนกระจายหรือ
ตอบ เพราะอย่างงี้ไง ถึงต้องมีการบริหารความเสี่ยง

-------
ขยายความ
คำถามแรก

ลองนึกภาพ มีทางสามแยก 
ทางซ้ายมีไฟเขียวแดง ทางขวาก็เหมือนกัน 
ทั้ง 2 แยกสามารถนำเราไปสู่จุดหมายได้
ปัจจุบันทางซ้ายเป็นไฟเขียว ทางขวาเป็นไฟแดง
คำถามคือ เราจะเลี้ยวทางไหน เพื่อไปถึงจุดหมายไวที่สุด ??

ในชีวิตจริง เมื่อเราเห็นแยกที่เปิดไฟเขียว 
เราอาจเลี้ยวทางนั้น เพราะคิดว่าจะผ่านแยกได้
แต่เมื่อใกล้แยก ไฟเขียวมักเปลี่ยนเป็นแดง เลยไปต่อไม่ได้
ดังน้นคำตอบที่ถูกคือ ไปทางไฟแดง 
เพราะเมื่อขับถึงแยก ไฟแดงมักเปลี่ยนเป็นเขียว 
เราจึงไปได้เร็วกว่า

การซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน หากท่านเล่นรอบ ต้องซื้อตอนหุ้นตก 
เพราะตลาดหุ้นเหมือนไฟเขียวแดง
คือ เปลี่ยนไปมา เป็นวัฏจักร 
ซื้อหุ้นตอนร่วงแรง จะได้ของถูก ซื้อแล้วก็รอ 
เมื่อเวลาผ่านไป ตลาดหุ้นจะเปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น 
ราคาหุ้นจะสูงกว่าตอนซื้อ 
เราจึงขายมีกำไร เก็บเงินสดไว้ รอรอบต่อไป

หากเราซื้อตอนราคาหุ้นขึ้นสูง จะมีต้นทุนแพงแถมเสี่ยง
เพราะวันหนึ่ง ราคาหุ้นจะเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง
ยิ่งซื้อตอนหุ้นขึ้นมากๆ ก็เหมือนแยกที่ไฟเขียวมานานแล้ว
โอกาสแดงมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นสำหรับนักเล่นหุ้นประเภทเล่นรอบ
การซื้อหุ้นเมื่อราคาขึ้นสูงแล้ว มักจบด้วยความผิดหวังเป็นส่วนมาก

----------

คำถามสอง
รู้ว่าซื้อตอนตกหนักได้ของถูก 
แต่กลัวว่าราคาหุ้นจะไหลลงยาว จนขาดทุนบักโกรก 
จะแก้ปัญหาอย่างไร ??

ในตลาดหุ้น ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน 
ไม่มีใครคาดการณ์อนาคตได้
หากเราคาดว่าซื้อตอนถูกแล้ว แต่เราอาจถูกหรือผิดก็ได้
คือ ราคาหุ้นอาจกลับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้อีกเพียบ 
ดังนั้น จึงต้องมีการ บริหารความเสี่ยง
ซึ่งหมายถึง การเตรียมแผนเมื่อเหตุการณ์ไม่เป็นตามที่คิด

โดยบทความนี้จะกล่าวถึงการบริหารความเสี่ยงด้วย 
Asset Allocation / Rebalance 
Asset Allocation คือ การแบ่งสัดส่วนระหว่างหุ้นกับเงินสด 
ส่วน Rebalance คือ การปรับพอร์ตให้สัดส่วนคงเดิม 
เมื่อเวลาผ่านไป

ตัวอย่างเช่น คือ สมมุติ คุณมีเงินทุน 1 ล้านบาท
แบ่งสัดส่วนหุ้นกับเงินสด (Asset Allocation) เป็น 50 : 50 
คือซื้อหุ้นมูลค่า 5 แสน ถือเงินสด 5 แสน
เมื่อเวลาผ่านไป 6 เดือน 
ราคาหุ้นลดลง เหลือมูลค่า 4 แสน
ดังนั้นพอร์ตรวมเหลือมูลค่า 9 แสน 
โดยมีสัดส่วนคือ หุ้น 45% และเงินสด 55% 
คุณจึงปรับพอร์ตให้สัดส่วน 50 : 50 เท่าเดิม (Rebalance)
คือ ถือเงินสด 4แสนห้า อีก 5หมื่นมาซื้อหุ้น 
โดย 6 เดือนหน้า ก็ทำกระบวนการแบบนี้อีก

จะเห็นว่า Asset Allocation / Rebalance มีข้อดีคือ
(1) เมื่อแบ่งสัดส่วนหุ้นกับเงินสด 
หากราคาหุ้นตกหนัก ความเสียหายจะเกิดน้อย 
จากตัวอย่าง แม้ราคาหุ้นลดลงถึง 25% 
แต่พอร์ตรวมจะขาดทุนแค่ 10% 
ถ้าซวยหนักลดลง 50% 
พอร์ตรวมจะขาดทุน 25% เท่านั้น 
ซึ่งต่างกับการซื้อเฉลี่ยขาลงจนเงินสดหมดหน้าตัก 
เพราะหากราคาหุ้นไม่ฟื้นอีกเลย ความเสียหายจะถึงเลวร้ายมาก

(2) ในกรณีราคาหุ้นตกต่อเนื่องยาวนาน 
ก็มีเงินสดซื้อหุ้นเพื่อลดต้นทุนเสมอ 
ต้นทุนถูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อราคาเปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น 
หากขาดทุนจะคืนทุนไว หากกำไรก็จะกำไรมากขึ้น

(3) หากหุ้นขึ้นก็ทำกำไรได้ 
จากตัวอย่างที่แล้ว ถ้าราคาหุ้นฟื้นตัว 
เพิ่มขึ้นจนมูลค่าหุ้นเท่ากับ 7 แสน 
พอร์ตรวมจะมีค่า 7 แสน(มูลค่าหุ้น) + 4.5แสน (เงินสด) 
มีสัดส่วน หุ้น 61% เงินสด 49%
จึงขายหุ้นทำกำไร 1 แสนห้าหมื่น 
เพื่อปรับสัดส่วนหุ้น : เงินสด เป็น50 : 50 เท่าเดิม 
จะเห็นว่า วิธีนี้ช่วยให้คุณล็อคกำไรได้ด้วย 
เพราะ หากซื้อแล้วถือไว้เฉยๆ 
เมื่อราคาหุ้นลดลงอีกครั้ง ก็พลาดโอกาสทำกำไรเป็นรอบๆ



สรุป
หากเราทำ Asset Allocation / Rebalance ต่อเนื่อง
พอร์ตของเราจะปลอดภัยและมีผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 
เพราะตลาดขาลงไม่เสียหายมาก 
มีเงินสดช้อนซื้อหุ้นตลอด ขาขึ้นทำกำไรได้ 
ยิ่งหากหุ้นในพอร์ตเป็นหุ้นพื้นฐานดี ปันผลงาม 
ก็เหมือนเรามีฟาร์มห่านทองคำที่ออกไข่เป็นปันผลให้เราเรื่อยๆ เป็นการสร้างกระแสเงินสด (cashflow) อีกทางครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดี
------

ขอบพระคุณครับ
ท็อป


Read More »
Google