วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วิธีหาเงินทุนทำธุรกิจแบบคนไม่มีเงิน



ปัญหาอย่างหนึ่งของคนอยากทำธุรกิจคือไม่มีเงินทุน
จึงไม่ได้เริ่มเสียที ชีวิตเลยติดหล่มไม่ไปไหน
ความจริงคือ ทุนไม่ได้หมายถึง เงินเท่านั้น
แม้ไม่มีเงินมาต่อเงิน แต่ก็มีอย่างอื่นที่เราสามารถใช้เป็นทุนเพื่อหาเงินเพิ่มได้
 
ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการทำธุรกิจของชาวจีน
ซึ่งบทหนึ่งเขียนเรื่อง วิธีหาเงินทุนแบบคนไม่มีเงิน
การสร้างตัวของคนจีนในไทยเป็นตัวอย่างที่ดีมากของประเด็นนี้
พวกเขาเดินทางจากจีนสู่ไทยสมัยรัชการที่ 5
มาเสื่อผืนหมอนใบ ไม่มีเงิน ไม่มีเส้นสาย บางคนไม่มีแม้แต่ที่ซุกหัวนอน
ส่วนใหญ่มาเป็นลูกจ้าง ใช้แรงงานแลกเงิน
แต่เดี๋ยวนี้กลับกัน คนไทยกลายเป็นลูกจ้าง
คนจีนเป็นเจ้าของธุรกิจและมหาเศรษฐี
 
คำถามคือ ตอนคนจีนตัวเปล่าเล่าเปลือย
ใช้วิธีใดในการหาเงินทุนมาทำธุรกิจ

เคล็ดลับมี 3 ข้อคือ แรงงาน เวลา และ ประหยัด

(1)แรงงาน : แรงงานคือทุนอย่างหนึ่งเพราะนำแลกเป็นเงินได้
ตอนคนจีนเหยียบแผ่นดินไทย ไม่มีทุนก็ขายแรงงานแลกเงิน เช่น แบกกระสอบ ยกของ ทำงานในร้าน ฯลฯ
ไม่เกี่ยงงาน หนักเอาเบาสู้ ได้เงินมาก็ใช้อย่างมัธยัสถ์
เก็บออมสะสมเป็นเงินทุน

สำหรับคนมีปริญญา การใช้แรงงานดูเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า
แต่ในชีวิตจริง จะมีกี่คนที่ในเวลาว่าง ได้ทำงานที่ตรงสเป็คทุกอย่าง 
หากคุณมีเวลาแล้วไม่รู้จะทำอะไรจริงๆ
อาจเริ่มต้นด้วยการใช้แรงงานในร้านซึ่งทำสิ่งที่คุณสนใจ
เช่น เสาร์อาทิตย์ สมัครเป็นเด็กฝึกงานในอู่ซ่อมรถ
ร้านกาแฟ ร้านของของที่จตุจักร
เพราะใช่ว่าจะทำงานแบบนี้ตลอดไปเมื่อไหร่
พออะไรดีกว่าเข้ามา ค่อยขยับขยายก็ได้
อีกทั้งงานพื้นฐานก็ให้อะไรมากกว่าที่คิด

ดร.กฤษนะ กฤตมโนรต หนึ่งในนักขายประกันที่เก่งที่สุดในไทย
สมัยหนุ่มกระทง เคยเป็นเด็กติดรถบรรทุกของร้านขายยา เ
ขาสังเกตุจนรู้ปรุโปร่งว่า
ร้านสั่งสินค้าจากที่ไหนถึงมีต้นทุนถูก ลูกค้าชอบอะไร

บริหารสต๊อคอย่างไรไม่ให้ทุนจม
ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่มีสอนในมหาลัย 
คุณจะรู้ได้จากการคลุกคลีหน้างานเท่านั้น


(2)เวลา คนจีนสมัยก่อนขยันมาก ตื่นก่อนนอนหลัง
ระหว่างวันทำงานเป็นระวิง เพราะพวกเขาคิดว่า เวลานั้นมีค่า
หากใช้ทำงานก็มีโอกาสได้เงิน จึงทำโน้นทำนี่ตลอดเวลา
เล็กน้อยหนักเบาเอาทั้งนั้น อย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์
ดีกว่านั่งๆนอนๆอยู่เฉย ผลาญเวลาอย่างสูญเปล่า

การใช้เวลาหาตังค์มาเป็นทุนมีหลายวิธี
แต่ที่ง่ายที่สุดคือ ใช้เวลากับงานที่ทำอยู่แล้ว
เช่น ขยันทำ โอทีให้มากขึ้น 
หรือขนขวายหาความรู้เพิ่มเพื่อความก้าวหน้า
เพราะหากได้เลื่อนตำแหน่ง เงินเดือนย่อมมากขึ้น
หนทางสู่การมีเงินทุนก็เปิดกว้าง
จำไว้ว่า ไม่มีคำว่าขี้เกียจในหมู่คนรวย จงใช้เวลาให้คุ้มค่าเสมอ


(3)ประหยัด คนจีนขึ้นชื่อเรื่องความมัธยัสถ์ บาทเดียวไม่กระเด็น
สาเหตุที่พวกเขากินข้าวต้ม เพราะในปริมาณข้าวสารเท่ากัน
หุงข้าวสวยจะหมดเร็วกว่าทำข้าวต้ม
การนำข้าวผสมน้ำช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
 
บางคนอาจนินทาว่า "ขี้งก" แต่เรื่องนี้มีสาเหตุ
สมัยร5ไม่มีคำว่าเจ้าสัวในหมู่คนจีนอพยพ เพราะเสื่อผืนหมอนใบกันทั้งนั้น
ต้องใช้แรงงานอาบเหงื่อต่างน้ำแลกเงินมา
หากใช้จ่ายสิ้นเปลือง ก็ไม่มีเหลือเก็บมาทำทุน
คนจีนรู้ดีว่า เงินเก็บเพิ่มขึ้นมาจาก 2 ทาง คือ เพิ่มรายได้ และ ลดรายจ่าย สมัยนี้อิทธิพลของสื่อทำให้ฮิตแต่เพิ่มรายได้
ความจริงคือ ไม่มีอะไรได้มาฟรี อยากได้เพิ่มต้องลงทุน
บ่อยครั้งการลงทุนไม่เป็นอย่างที่คิดเพราะขาดประสบการณ์
สถานการณ์เลยยิ่งแย่กว่าเดิม

ขณะที่ลดรายจ่ายทำง่ายกว่า
เพราะไม่ต้องลงทุน เงินอยู่ในมือแล้ว

อยู่ที่ตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่เท่านั้น
หลักคิดอีกข้อในช่วงสร้างตัวของคนจีนคือ 
 "อะไรที่ไม่ซื้อแล้วไม่ตาย เก็บเป็นเงินทุนได้ทั้งสิ้น"
คนที่อยากมีเงินทุนก็ใช้หลักการนี้ได้เช่นกัน
ลองสำรวจ ดูว่า อะไรที่ไม่จ่ายก็มีชีวิตอยู่ได้
เช่น กาแฟแก้วละ 60 เสื้อผ้า ท่องเที่ยว เป็นต้น
เปลี่ยนรายจ่ายเหล่านี้มารอมริบเป็นเงินทุนได้ไหม

แนวคิดนี้อาจดูสุดโต่งในยุคปัจจุบัน แต่มันเป็นไปได้ในโลกความจริง
ถ้ายอมอดเปรี้ยวกินหวาน จ่ายแต่สิ่งจำเป็นเป็นเวลา1 ปี
คุณจะพบว่ามีเงินออมมากขึ้นชนิดที่ตัวเองยังประหลาดใจ
จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนมาทำธุรกิจอีกต่อไปครับ

ทั้งหมดก็เป็นเคล็บลับหาเงินทุนแบบคนไม่มีเงิน
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณครับ
ท็อป

สนับสนุนความรู้ - เรียน Adwords เชิงกลยุทธ์ By Search Monopoly SearchMonopoly

Read More »

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สอนเล่นหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานผสานเทคนิค - 1 ทำไมต้องใช้กราฟประกอบการลงทุน







ย้อนกลับไปหลายปีก่อน
PTTEPคือหุ้นของบริษัทพลังงานที่มีความสามารถทำกำไรสูงมาก
สินค้าของบริษัทคือน้ำมันดิบและก๊าซเป็นสิ่งจำเป็นของสังคมไทย
ความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คู่แข่งก็น้อย
ปีๆหนึ่ง PTTEPจึงมีกำไรเกือบ5หมื่นล้านบาท
ติด 1ใน5 ของบริษัทที่กำไรสูงสุดในไทย
ด้วยความที่สินค้าเปรียบเหมือนอากาศซึ่งคนขาดไม่ได้
PTTEPจึงได้รับความเชื่อมั่นอย่างสูงจากนักลงทุนว่า
เป็นบริษัทที่มีกำไรมั่งคงเหมือนเสาหิน ไม่ผันผวนง่ายๆ

ปลายปี 2557 ราคาน้ำมันตกต่ำ 
ลดลงจาก 100$/Barrel มาอยู่ที่ 70$
ส่งผลให้ราคาหุ้นPTTEPร่วงตาม
ช่วงนั้นผมได้ยินนักลงทุนหลายท่านพูดว่า
นี้เป็นโอกาสทองฟังเพชร ในการซื้อหุ้นPTTEP
เพราะถ้าราคาน้ำมันต่ำมากๆ 
ผู้ผลิตทั่วโลกก็จะลดการผลิต
เมื่อชัพพลายน้อยลง ราคาน้ำมันจะพลิกกลับสูงขึ้น
ราคาหุ้นPTTEPย่อมฟื้นคืนเป็นเงาตามตัว
ซื้อหุ้นตอนนี้ อนาคตคงขายได้กำไรงาม
ทำให้ตอนนั้น คนจึงแห่ช้อนซื้อหุ้น PTTEPอย่างคึกคัก

แต่เหตุการณ์ไม่เป็นดังคาด
ราคาหุ้นPTTEPตกต่อเนื่อง ดิ่งลงเหมือนรถตกเขา
จากปี 2557 ราคาหุ้นPTTEPประมาณ 170บาท
ต้นปี2559 เหลือแค่ 42 บาท ลดลง 76% 
ส่งผลให้นักลงทุนที่ช้อนซื้อ ช้อนหักไปตามๆกัน

สาเหตุที่ราคาหุ้น PTTEPลดหนัก มาเฉลยในปี 2559 นี่เองว่า
อุตสาหกรรมน้ำมันเปลี่ยนแปลงแล้วอย่างสิ้นเชิง 
เพราะการเฟื่องฟูของShale Oil 
ที่ทำให้ซัพพลายน้ำมันโลกเพิ่มขึ้นมากแบบถาวร 
ฐานราคาน้ำมันจึงต่ำลง
รายได้ของPTTEPจึงตกและยากจะกลับไปสูงเหมือนอดีตอีกครั้ง

ประเด็นคือ กว่าจะรู้ชัดเจนว่าพื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลง 
ราคาหุ้นก็ถึงจุดต่ำสุดเสียแล้ว





เหตุการณ์ข้างต้น คือความเสี่ยงของการลงทุนแบบหนึ่ง
ยิ่งเกิดกับบริษัทที่ใหญ่และมั่นคง ยิ่งอันตราย
เพราะความเชื่อมั่นมักทำให้เกิดภาพลวงตาว่า 
บริษัทยังดีอยู่  ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทอาจไม่เหมือนเดิมแล้ว


คำถามคือ จะป้องกันตัวความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างไร

คำตอบส่วนตัวผมคือ ใช้กราฟราคาเป็นตัวช่วย
เพราะราคาหุ้นสะท้อนทุกสิ่ง
หากบริษัทเกิดปัญหาซึ่งทำให้ปัจจัยพื้นฐานแย่ลง
ราคาหุ้นจะดิ่งเหว เกิดเป็นแนวโน้มขาลง (Downtrend)
และหากสถานการณ์ของบริษัทฯยังไม่ดีขึ้น 
หรือว่ามีปัจจัยลบอื่นรออยู่ในอนาคต ราคาหุ้นจะตกต่อ 
ตกเรื่อยไปจนกว่าบริษัทฯจะแก้ไขสถานการณ์ได้ 
เมื่อนั้นราคาหุ้นจึงเริ่มหยุดตก หรือพลิกเพิ่มขึ้น



insider คือธรรมชาติของตลาดทุน


ทำไมราคาหุ้นจึงสะท้อนทุกสิ่ง
เพราะมันเสมือนเป็นนักข่าวที่รายงานว่า
เจ้าของบริษัท รายใหญ่ และตลาด รู้สึกหรือทำอะไรกับหุ้นตัวนี้
ลองจินตนาการว่า เมื่อบริษัทฯเริ่มประสบปัญหา 
คนแรกที่รู้คือเจ้าของบริษัท
ต่อมาคือรายใหญ่ซึ่งเข้าถึงข้อมูลก่อนใคร
พวกเขาจึงขายหุ้น
เมื่อแรงขายมากกว่าแรงซื้อ 
จึงสะท้อนออกมาที่ราคาหุ้นลดลง 
และหากกลุ่มคนข้างต้นเห็นว่า 
สถานการณ์ของบริษัทเหมือนคนป่วยที่ยังไม่ฟื้น
จึงไม่ซื้อหุ้นเพราะไม่มั่นใจ ราคาหุ้นจึงตกต่อ 
ตกไปเรื่อยๆจนถึงจุดที่ปัญหาของบริษัทได้รับการแก้ไข 
สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆจากจุดที่เป็น 
ซึ่งผู้ที่รู้ว่าคนป่วยหายแล้วเป็นกลุ่มแรก
ก็คือกลุ่มคนที่ขายก่อนใครนั่นแหละ 
พวกเขาจึงช้อนซื้อหุ้น เมื่อแรงซื้อมากกว่าแรงขาย
ราคาหุ้นจึงไม่ลด และพลิกเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

สรุปคือกราฟราคาหุ้นช่วยให้เรารู้สถานการณ์แท้จริงของบริษัท 
เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการซื้อผิดจังหวะครับ


2หัวดีกว่าหัวเดียวจริงหรือ ??


มีคนถามผมบ่อยว่า 
การใช้พื้นฐานผสานเทคนิค 
เมื่อเปรียบกับใช้พื้นฐานและเทคนิคเพียงอย่างเดียว 
มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

คำตอบส่วนตัวผมคือ หากเป้าหมายคือส่วนต่างราคาหุ้น
การใช้2อย่างร่วมกัน สร้างกำไรไม่ต่างกับใช้อย่างเดียว
แต่เสียเวลามากกว่า 
เพราะต้องวิเคราะห์ทั้งพื้นฐานและเทคนิคร่วมกัน
อุปมาเหมือนคน2คนทำงานลักษณะเดียวกัน
คนหนึ่งทำ 4ชั่วโมงต่อวัน อีกคนทำ8ชั่วโมง
แต่ค่าแรง 300 เท่ากัน ได้เงินเท่ากันแต่กินแรงแตกต่าง

**อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้พื้นฐานผสานเทคนิคแล้วก็กำไร
ก็ใช้ต่อไปเถอะครับ เพราะแนวทางการลงทุนใดที่คุณกำไรและพอใจ ก็ดีทั้งนั้น**

คำถามต่อมาคือ แล้วผมใช้พื้นฐานผสานเทคนิคเพื่ออะไร ??
คำตอบคือ การใช้2อย่างร่วม 
คือเครื่องมืออันทรงพลัง 
สำหรับการเล่นหุ้นที่มีเป้าหมายเพื่อ "สร้างกระแสเงินสด" (Cashflow)
เพราะทำให้เรามีเงินสดมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม 
และป้องกันความเสี่ยงจากการที่หุ้นตัวนั้น 
ไม่ใช่เครื่องจัการสร้างกระแสเงินสดที่ดีอีกต่อไป
ซึ่งรายละเอียดของการเล่นหุ้นเพื่อสร้างกระแสเงินสด 
จะเขียนต่อในตอนที่2นะครับ


สรุป การใช้กราฟราคาช่วยในการลงทุน
มีข้อดีคือ ป้องกันความเสี่ยงจากการซื้อหุ้นผิดจังหวะ
เป็นวิธีที่เหมาะกับการเล่นหุ้นที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระแสเงินสด
เพราะทำให้เรามีเงินสดมากขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มครับ

สนับสนุนความรู้ - เรียน Adwords เชิงกลยุทธ์ By Search Monopoly SearchMonopoly

Read More »
Google