วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

Five Force Model ของ ไมเคิล อี พอร์เตอร์ กับการลงทุนหุ้น(ตอนจบ) : วิธีใช้งาน



     หมายเหตุ * บทความนี้เป็นเพียง ข้อคิดเห็นส่วนตัว  มิใช่ ความจริงแท้ หรือ สูตรสำเร็จ ที่ทำให้เพื่อนนักลงทุนกำไรครั้งละมากๆ นักลงทุนควรหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน *


    จากความตอนที่แล้ว  วันนี้มาต่อเรื่องการใช้ Five Force Model (เรียกย่อว่า  FFM ) มาใช้ลงทุนครับ


    สำหรับผมเอง จะมี Roadmap  "การนำ  FFM มาลงทุน" ดังนี้

 

  

    




   รู้สภาวะอุตสาหกรรมกับ FFM
 
    ข้อมูลสำคัญจาก FFM ก็คือ ภาวะอุตสาหกรรม เอื้อต่อการทำ กำไรดีและยั่งยืนแค่ไหน

    โดยความเห็นส่วนตัว  ถ้าเราจำแนกหัวข้อ FFM ที่ส่งผลกับ กำไรดีและ ยั่งยืน ก็จะเป็นดังตารางข้างล่างนี้







ซึ่งวิธีใช้งานตารางข้างบนก็คือ อุตฯไหน มีหัวข้อ ภัยคุกคาม = ต่ำ มากหัวข้อเท่าไหร่  ยิ่งแสดงว่า บริษัทในอุตฯ มีโอกาส กำไรดีมากขึ้นเท่านั้น
  
ตัวอย่างเช่น ในอดีต อุตสาหกรรมสัมปทาน เช่น ขุดบ่อน้ำมัน หรือ โทรคมนาคม  จะมีภัยคุมคาม = ต่ำ เกือบทุกหัวข้อ (จากทั้งหมด 5 หัวข้อ)

บริษัทผู้นำตลาดในอุตฯจึงสวาปามกำไรขั้นต้นในอัตราสูงอย่างสำราญบานสะดือและต่อเนื่องหลายปี    

แตกต่างกับ อุตสาหกรรมขายปลีก IT ที่ภัยคุมคาม = สูง  เกือบทุกหัวข้อ  บริษัทฯจึงมีกำไรต่่ำเตี้ยติดดินและต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อรอดชีวิตต่อไปธุรกิจ

ซึ่งหากเพื่อนนักลงทุน มีโอกาสวิเคราะห์ FFM หลายๆอุตสาหกรรม และลองนำมาเปรียบเทียบกัน ก็จะรู้ทันทีว่า บริษัทฯไหน อยู่ไหนอุตฯที่เหมาะสม ต่อการทำกำไรมากกว่า เพื่อจะนำข้อมูลมาตัดสินใจในขั้นต่อไป

                 
     
     เลือกอุตฯที่เหมาะกับเป้าหมายการลงทุน
               






 เมื่อทราบสภาวะอุตสาหกรรมจาก FFM ขั้นต่อมาก็คือ เลือกอุตสาหกรรมให้เหมาะกับเป้าหมายลงทุน
 
     โดยสามารถแบ่งเป้าหมายการลงทุนเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้


     1.       รับเงินปันผลสูงกว่าดอกเบี้ยฝากธนาคาร 


     นักลงทุนที่หวัง รับเงินปันผลในอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยฝากธนาคาร เหมาะลงทุนในอุตฯที่ภัยคุกคาม = ต่ำ หลายหัวข้อ หรือ ทั้งหมดเลยยิ่งดี 
  


     เพราะบริษัทฯผู้นำในอุตฯแบบนี้ มักมีกำไรสูงต่อเนื่องจนมีสภาพคล่องส่วนเกินมากพอจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทุกปี 

     บางบริษัท " สปอร์ต ใจดี " จ่ายปันผลได้ถึง 6-8% ต่อปีและยังมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไปในอนาคต

     บริษัทแบบนี้จึงเหมือนเครื่องจักรผลิตเงินชั้นดีให้กับนักลงทุนที่มุ่งหวังเงินปันผลในอัตราที่สูงครับ

      
     2.      หวังส่วนต่างราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น

      
    นักลงทุนที่หวังส่วนต่างราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก เหมาะลงทุนใน คู่แข่งของอุตฯที่ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน = สูง 

    เพราะบริษัทคู่แข่ง อาจมี ของดีทีเด็ดที่เสมือนแม่เหล็กขนาดยักษ์  คอยดูดลูกค้าจำนวนมาก มาจากอ้อมกอดของเจ้าตลาดเดิม จนรายได้และราคาหุ้น(หากบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์) ของบริษัทคู่แข่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
     
    ในอดีต การกำเนิดของสินค้าทดแทน ที่ชื่อ  ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount Store)  ทำให้รายได้ของ อุตฯค้าปลีกรายย่อย หรือ พื้นที่เช่าตลาดสด  ลดลงอย่างรวดเร็วราวกับระดับน้ำของเขื่อนแตก   

  เพราะประชาชนแห่กันไปใช้บริการของ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ที่สินค้าราคาถูกและมีความสะดวกสบายมากกว่า   

      รายได้และราคาหุ้นของบริษัท ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  จึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราวกับสินทรัพย์ของนักการเมืองไทย

  
    ตัวอย่างก็คือ  BIGC  ที่ราคา IPO =  60 บาท  ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 217 บาท คิดเป็น % เพิ่มกว่า 300% ครับ
   

      

     สรุป  การใช้ FFM กับการลงทุน


        สาระสำคัญจาก FFM ก็คือ ภาวะอุตสาหกรรม เอื้อต่อการทำ กำไรดีและยั่งยืนแค่ไหน   เพื่อนนักลงทุนที่ทราบภาวะหลายๆอุตสาหกรรม  ก็จะเลือกได้ว่า อุตสาหกรรมไหน เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนที่สุด 

   นักลงทุนที่หวังรับเงินปันผลในอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยฝากธนาคาร เหมาะลงทุนในอุตฯที่ภัยคุกคาม = ต่ำ หลายๆหัวข้อ เพราะบริษัทผู้นำในอุตฯมีความสามารถในการจ่ายปันผลต่อเนื่อง ส่วนผู้ที่หวังส่วนต่างราคาหุ้น  บริษัทคู่แข่ง ของอุตฯที่ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน = สูง  เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะรายได้และกำไรมีโอกาสเพิ่มสูงต่อเนื่อง เป็นผลให้ราคาหุ้นสูงตามไปด้วย
 

The End


ขอบพระคุณครับ  ^__^

นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย.
อยู่บนพื้นฐานของงานที่ http://thai-hybridinvestors.blogspot.com/.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google