วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซื้อหุ้นด้วยทฤษฎีระบบผลประโยชน์ ในความคิดของผม

26/12/56 เป็นอีกครั้งที่ "ข่าวร้าย" กระหน่ำเต็มตลาด เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว ส่งออกกำลังจะติดลบในรอบ 4ปี โครงการรัฐติดหล่ม การเมืองเละเป็นโจ๊กและไม่มีวี่แววสมานฉันท์ "เหตุผล"ทั้งหมดกำลังชี้ว่า "ขายหุ้น" 


ขณะนี้จึงเป็นเวลา "ซื้อหุ้น" ตามทฤษฎีระบบผลประโยชน์ ซึ่งกล่าวว่า "จงเป็นคนส่วนน้อยของตลาด เพราะ

คนส่วนใหญ่จะขาดทุนเสมอ" ผมสังเกตุว่า เวลานี้ สื่อทุกช่อง ทุกเว็บบอร์ด กูรูทุกสำนัก ฟันธงเหมือนกันว่า "ขาย" เพราะไม่มีเหตุใดเลยที่สนับสนุนว่า หุ้นจะขึ้น เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นไปในทางเดียวกัน เหตุผลกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย แต่จะให้น้ำหนักกับ Oversold แทน เมื่อคนส่วนมากขาย เราต้องซื้อ






ส่วนตัวผมศึกษาและใช้ทฤษฎีระบบผลประโยชน์ในการลงทุน วันนี้เป็นอีกครั้งที่ผมคิดว่า "ระบบทำงานแล้ว" จึงเป็นจังหวะซื้อหุ้นมากกว่าขาย โดยวิธีการซื้อหุ้นด้วยทฤษฎีระบบผลประโยชน์แบบของผมมีดังนี้



1. ทำใจยืดหยุ่น (**สำคัญมาก**) 

ซื้อหุ้นแบบทฤษฎีระบบผลประโยชน์ คือ ซื้อบริเวณที่คิดว่าระบบทำงาน มิใช่ "ซื้อจุดต่ำสุด"  ดังนั้นต้องไม่หวังว่าซื้อแล้วจะขึ้นทันที  อาจลงต่อได้ เพราะคาดการณ์เป๊ะๆในตลาดหุ้น ยากยิ่งกว่าอุ้มช้างอาบน้ำ 20 ตัว ดังนั้น ต้องเป็นนักลงทุนระยะกลางถึงยาว ซื้อแล้วรอได้ 1-2 ปี หากรักลงทุนด้วยทฤษฎีนี้ ต้องใจกว้าง ยืดหยุ่นเรื่องเวลา ยอมรับความจริงตรงนี้ได้


2. ซื้อหุ้นพื้นฐานดี

อันนี้คุณพิชัยไม่ได้กล่าวไว้ แต่ผมว่าใช่ ต้องซื้อหุ้นพื้นฐานดีตอนภาวะตลาดไม่ดี เหตุผลไม่ดี เพราะสุดท้าย ราคาของหุ้นพื้นฐานดีจะกลับมา ไม่ใช่ไปซื้อหุ้นปั่น หุ้นเน่า หุ้นขาดทุนซ้ำซาก เพราะในระยะยาว ของไม่ดียิ่งถือนาน ยิ่งรอนาน ยิ่งขาดทุน เราจึงควรซื้อแต่ของดีที่มีปัญหาชั่วคราวเท่านั้น


3. ทะยอยซื้อ


เมื่อมั่นใจว่าระบบทำงาน คุณพิชัยบอกว่า สามารถ "ทะยอยซื้อ" เพราะราคาอาจลงต่อ การทะยอยซื้อทำให้ต้นทุนถูกลง 


4. Price Pattern + SAP

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมไม่ "ทะยอยซื้อ" หุ้นตอนตกหนักเหมือนคุณพิชัย เพราะผมอาจคิดผิดก็ได้ การทะยอยซื้อหุ้นขาลงแล้วราคาไม่กลับมาเหมือนที่คิด  ระเบิดจะลง ความฉิบหายจะเกิด สร้างความบรรลัยต่อพอร์ตได้มาก 

วิธีการส่วนตัวที่ใช้คือ Price Pattern + SAP คือ เมื่อผมมั่นใจว่าระบบทำงาน จะเฝ้าระวังเพื่อซื้อ รอจนราคาไม่มี newlow เกิด price pattern ของการกลับตัวราคา  เมื่อนั้นผมจะซื้อไม้แรก โดยกำหนดแนวรับไว้ หากซื้อแล้วราคาไม่ขึ้นเหมือนที่คิดและลงต่อจนหลุดแนวรับ ผมก็ขาย เพื่อไปรอรับที่ราคาต่ำกว่า (SAP) 



price pattern : double bottoms

วิธีการนี้ข้อดีคือ ขาดทุนน้อยเมื่อคิดผิด เป็นการเข้าถ้ำเสือเพื่อเอาลูกเสือ โดยพก "ตัวช่วย" ไปด้วย เพื่อให้ไม่ให้ถูกทำร้ายบาดเจ็บเกินไป


ทั้งหมดข้างต้น เป็นการ "ซื้อหุ้น" ด้วยระบบผลประโยชน์ของผม พี่น้องอ่านแล้วคิดเห็นเช่นใด เชิญแสดงความเห็นได้  ถือว่าเป็นการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน 

Read More »

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หุ้น:Thaibev กำลังแย่ จริงหรือ ???

สัปดาห์นี้มีข่าว "น่าสนใจ" เกี่ยวกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (Thaibev) ถูก S&P ลดอันดับ Credit Rating อยู่ในระดับ BB- หรือ ขยะ อันหมายถึง S&P เห็นว่า Thaibev กำลังมีปัญหาทางการเงิน จนโอกาสที่เจ้าหนี้ จะถูก Thaibev “ชักดาบ หรือไม่จ่ายเงินกู้ มีสูงขึ้น


ข่าวนี้ทำให้ผมเกิดความสงสัยใคร่รู้อย่างมาก 
เนื่องจาก Thaibev เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ดำเนินงานมายาวนาน และขยายงานอย่างต่อเนื่อง ผมจึงหาข้อมูลทางการเงินของ Thaibev  เพื่อพิจารณาว่า สุขภาพการเงินของ Thaibev กำลังแย่ลง ตามที่ S&P ให้ข่าว จริงหรือไม่ ?? 


โดยส่วนตัวเห็นว่า การเช็คสุขภาพการเงิน ว่า บจ.ไหน กำลังมีปัญหา สามารถพิจารณาจาก 1. กระแสเงินสดของบริษัท 2. หนี้สินและความสามารถชำระหนี้  3. ความเสี่ยงจากการมีหนี้  เพราะหากข้อมูลทั้ง 3 ข้างต้น   ชี้ว่าบจ. กำลัง ถังแตก”  ก็มีโอกาสสูงว่า บจ. จะมีปัญหาในอนาคต


อย่างไรก็ตาม ข้อมูลงบการเงินปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า Thaibve มีสุขภาพการเงินระดับ แข็งแรงดี  มิได้ย่ำแย่มากมายนัก  โดยอาศัยข้อมูลสนับสนุนดังนี้


1. กระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง

บจ. ที่มีปัญหาทางการเงิน มักเป็น บจ. ที่ธุรกิจไม่สามารถสร้าง เงินสดเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย 

ประหนึ่งพ่อค้าขายของ แต่เก็บ เงินสดได้เพียงเล็กน้อย ย่อมเกิดภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัก ขาดเงินสดเพื่อซื้อของขายหรือใช้จ่ายในร้าน ย่อมถูกบีบให้ กู้เงินมาใช้จ่ายให้ร้านค้าเดินหน้าต่อได้ 

การกู้เงินมากๆ ทำให้เกิดภาระะดอกเบี้ย ยิ่งกู้มากๆ จนหาเงินมาต่อดอกไม่ทัน  อาจสร้างความบรรลัยแก่กิจการ จนล้มหายตายจากไปได้


ซึ่งจาก งบกระแสเงินสด เมื่อ 30 กันยายน 2556 พบว่า  Thaibev  มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็น + อันหมายถึง กิจการยังคง ผลิตเงินสดให้ Thaibev ได้  อีกทั้งมีจำนวนมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนด้วย 

โดย Thaibev มีกระแสเงินสดจากการดำเนินการ ในวันที่ 30 กันยายน 2556 เท่ากับ 13,105 ล้านบาท มากกว่าเวลาเดียวกันของปีก่อน 1,052 ล้านบาท เท่านั้นไม่พอ ยังจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงิน 10,546 ล้านบาทอีก สะท้อนว่า บจ. ยังมีเงินสดเพียงพอใช้จ่าย

งบกระแสเงินสด ประจำไตรมาส 3 /56


จ่ายปันผลชิวๆ



2. ความสามารถชำระดอกเบี้ยสูง ,D/E น้อยกว่า 1


ประเด็นต่อมาคือ เรื่องหนี้ของ Thaibev จากงบการเงินพบว่า Thaibev มีหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจริง โดยปี 2555 Thaibev มีหนี้สินรวม 122,175 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  400% เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยมีสาเหตุจากการกู้เงินจำนวนมหาศาล มาซื้อหุ้นของบริษัท F&N ทำให้ Thaibev  มีหนี้สินสูงขึ้นอย่างมาก


อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ เมื่อบจ. มีหนี้เพิ่มขึ้นมากแล้ว  บจ. มี ศักยภาพจัดการหนี้ที่เกิดขึ้นหรือไม่  ถ้าหากบจ. ยังเอาอยู่  ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร อุปมาดังผู้มีรายได้สูงมาก กู้เงินมาสร้างบ้านสัก 50 ล้าน แม้มีหนี้เพิ่ม  50 ล้าน แต่หากรายได้มีมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ได้แบบสบายๆ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแต่อย่างได้


โดยสิ่งสะท้อนว่า Thaibev  มี ศักยภาพการเงินเพื่อจัดการหนี้สินที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ ดูได้จาก ความสามารถชำระดอกเบี้ยอันหมายถึงว่า เมื่อหักค่าใช้จ่ายดำเนินการแล้ว บริษัทยังมีเงินเหลือเพียงพอต่อการชำระดอกเบี้ยหรือไม่  โดยปี 2555 Thaibev มีความสามารถชำระดอกเบี้ยถึง  28 เท่า นั่นหมายถึง กำไรจากการดำเนินงาน ยัง เหลือเฟือต่อการชำระดอกเบี้ยเงินกู้


อีกสิ่งหนึ่งคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ซึ่งค่านี้ถ้าต่ำกว่า 1 ถือว่า ดี  เพราะแสดงว่า บจ. มีหนี้น้อยเมื่อเทียบกับทุนบริษัท โดยล่าสุด  Thaibev มี D/E = 0.93 ซึ่งกว่าต่ำกว่า 1 อยู่ดี นั่นแสดงว่า ก่อนกู้เงินมาซื้อ F&N Thaibev  มีหนี้สินต่ำมากอยู่แล้ว ดังนั้นถึงจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมามาก ก็ยังอยู่ใน  ค่ามาตรฐานอยู่


ข้อมูลจากรายงานประจำปี 55


D/E ณ 30/9/56 แค่ 0.93


3.ความเสี่ยงของเงินกู้


ประเด็นสุดท้ายคือ ความเสี่ยงของเงินกู้ เนื่องจาก Thaibev  กู้เงินระยะยาวจากสถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก จึงควรดูด้วยว่า มีความเสี่ยงอะไร  ทำให้ มูลค่าเงินกู้เพิ่มสูงขึ้นในอนาคตจนเป็นปัญหาแก่ Thaibev หรือไม่


โดยเมื่อดูจากรายงานประจำปี 2555 พบว่า ไม่น่าห่วง  เพราะถึงแม้ดอกเบี้ยส่วนใหญ่ต้องชำระเป็นเงิน ดอลลาร์สิงค์โปร์  ซึ่งอาจทำให้  Thaibev มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน  อย่างไรก็ตาม ได้มีการป้องกันความเสี่ยงโดยทำสัญญาซื้อขายเงินล่วงหน้า ทำให้  Thaibev  ไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่ผันผวนมากนัก


ใส่ถุงป้องกันเรียบร้อย ไม่น่าห่วง


สรุป


โดยส่วนตัวผมเห็นว่า สุขภาพการเงินของ Thaibev ยังอยู่ในภาวะ แข็งแรง สะท้อนจาก บจ ยังมีกำไรต่อเนื่อง  มีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง  ความสามารถชำดอกเบี้ยสูง  D/E ต่ำ และมีการป้องกันความเสี่ยงดีพอสมควร ส่วนเรื่องที่ ถูก S&P ลดอันดับ Credit Rating อยู่ในระดับ BB- หรือ Junk นั้นก็ต้องให้เวลาพิสูจน์ว่า จะส่งผลกระทบกับ Thaibev อย่างไร

ที่มาข้อมูล http://thaibev-th.listedcompany.com/financials.html
Read More »

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สอนเล่นหุ้น - ทำไม"หยุดขาดทุน"จึงสำคัญนัก

อย่าขาดทุน รักษาเงินต้นก่อน ค่อยทำกำไร
ประโยคเหล่านี้ มีประโยชน์และคุณค่ามาก


Read More »

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สอนเล่นหุ้น -3 ขั้นตอนที่ทำให้ร่ำรวยและสำเร็จในการลงทุน



การลงทุนหุ้นก็เหมือนงานอื่นๆ ถ้าอยากสำเร็จ คุณต้องทราบ  ขั้นตอนที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้คุณสำเร็จ สมหวังและทำกำไรจากหุ้นตามต้องการ




การทำผิดขั้นตอน  ย่อมนำสู่ผลลัพธ์ที่ผิด  เป็นการเสียแรงและเวลาประหนึ่งต้องการให้รถเดินหน้าแต่ใส่เกียร์ถอยหลัง ย่อมไม่เกิดผลตามที่ต้องการ



การรู้ ขั้นตอนที่ถูกต้อง จึงสำคัญมากต่อนักลงทุน
Read More »

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หุ้น:E-book ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน

E-book ที่ปรึกษาสอนการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน

กดเลย


Read More »

หุ้น:E-book แกะเงื่อนงบการเงิน

E-book แกะเงื่อนงบการเงิน 

กดเลย 


Read More »

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ATS เสี้ยนตำเท้าของตลาดหลักทรัพย์






Alternative Trading System (ATS) คือการซื้อขายหลักทรัพย์แบบใหม่ จะมาไทยในเดือนเมษายน



ATS คือการซื้อขายโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์ เป็นการ match  ตรงระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย


Read More »

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เลือกหุ้นก็เหมือนได้เสียเป็นผัวเมีย



วิธีเลือกการลงทุนที่เหมาะกับเรา ก็เหมือน "การเลือกคู่"

1. หาคนที่ดูแล้วถูกใจ แล้วก็ลุยยย
2. พอเป็นแฟนสักพัก ข้อเสียแฟนเราก็จะออกมา "ถามใจ" ว่าทนได้ไหม
3. ถ้าทนได้ นั่นแหละใช่ ถ้าไม่ไหว จำยอม "เปลี่ยนใหม่"


การลงทุนก็เหมือนกัน เริ่มจากแนวทางที่โดนใจที่สุด


ผ่านเป็นสักระยะ ข้อเสียของแนวทางนั้นก็จะออกมา เพราะไม่มีแนวทางไหน สมบูรณ์แบบไร้ที่ติ

Read More »

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

9 ผลกระทบจาก Robot ต่อนักลงทุนรายย่อย





 1. Robot คือ ภัยคุกคามใหม่ ที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ของนักลงทุนรายย่อย 



2. Robot ก็คือ การเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ  โดย Robot ที่น่าวิตก ไม่ใช้ Robot ที่สร้างโดยนักลงทุนรายย่อย แต่เป็น Robot ของ "ขาใหญ่" ที่มีเงินและจุดมุ่งหมายชัดเจน


3. จุดมุ่งหมายของ "ขาใหญ่" คือ ดูดเงินของรายย่อย เพื่อนำไปสร้างอาณาจักรการเงินของตน



4. นักลงทุนรายย่อย Trade หรือสร้าง Robot ยังไง ก็ไม่มีทางชนะRobotของ "ขาใหญ่"  นอกจากรายย่อยคนนั้นจะเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในคนเดียวกัน


5. สาเหตุที่ไม่มีทางชนะ เพราะนักลงทุนรายย่อยกับ Robot "ขาใหญ่" สู้ในสนามเดียวกัน แต่ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน  เปรียบดังนักมวย2คน คนหนึ่งฝึกฝนดี เก่งกาจสามารถ แถมกรรมการรักใคร่  แต่อีกคน ถูกล็อคแขนข้างหนึ่ง เอาผ้าปิดตา เมื่อ 2 คนขึ้นชก คุณคิดว่าใครจะชนะ??


6. Robot จะกระทบต่อรายย่อยทุกแนวทางโดยเสมอภาค แนวเทคนิคจะเจอกับ ตลาดผันผวนรุนแรงทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง แนวพื้นฐานจะหา หุ้นดีราคาเหมาะสมยากขึ้น ต้องยอมซื้อของแพง


7. 10 ปีข้างหน้า ผลกระทบของRobotจะเด่นชัด   20ปีข้างหน้า ตลาดหุ้นจะมีแต่ "Robotขาใหญ่" หลายๆตัวสู้กัน  เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกอย่างรายย่อยก็แหลกละเอียด ตลาดหุ้นจะมีนักลงทุนรายย่อยอย่างเราเหลือในตลาดน้อยมาก


8. 20 ปีข้างหน้า คนรุ่นใหม่ในตอนนั้นจะไม่มีใครอยากเป็นนักลงทุนรายย่อย   เพราะความเสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนต่ำ  คนรุ่นใหม่จะถูก บีบโดยละม่อมให้นำเงินไปให้ ขาใหญ่บริหาร เพราะจะเป็นที่รู้โดยทั่วกันว่า  ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูงมาก ไม่แน่จริงยังไงก็ขาดทุน หากอยากให้เงินตัวเอง เพิ่มมูลค่า มากกว่าฝากธนาคาร ก็มีแต่ต้องยอมนำเงินที่มี ไปให้  ขาใหญ่ บริหาร  ผลตอบแทนก็แล้วแต่ ขาใหญ่จะจัดสรรให้
 

9. ตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่หากำไร  ไม่ได้มีหน้าที่ปกป้องนักลงทุนรายย่อย  อย่าคาดหวังว่าเขาจะทำอะไรมากนัก  หากนักลงทุนรายย่อยล้มหายตายจากไป



นักลงทุนรายย่อยต้องปรับตัวอย่างไร


ต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะ


5 ปี ถัดจากนี้ Robot จะเป็น สินทรัพย์ที่เติบโตอย่างมาก มากกว่าหุ้น หรือ กองทุน


หากท่านมีเงินมากพอ ให้ท่านหา Robot สัก 3 ตัว แล้วให้ Robot แต่ละตัวบริหารเงินในจำนวนเท่ากัน เช่น ท่านมีเงิน 90 บาท ท่านก็แบ่งให้ Robot แต่ละตัว  ตัวละ 30 บาท


ผ่านไป  6 เดือน – 1ปี  ดูว่า Robot ตัวไหนทำผลกำไรต่ำสุด ให้นำเงินออกจาก Robot ตัวนั้น แล้วนำเงินไปลงทุนใน Robot ที่ทำผลตอบแทนสูงสุดแทน หรือนำเงินไปให้ Robot ตัวใหม่บริหาร  ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าท่านจะพอใจ

คุณปิยพันธ์ วงศ์ยะราเข้าร่วมบริษัทที่สร้าง Robot

คนในวงการที่รู้ว่า Robot คืออะไร เขาเข้าใจว่ามันน่ากลัวขนาดไหน


เร่งเพิ่มพูนความรู้  

หากท่านไม่มีเงินมากพอจนไม่สามารถลงทุนใน Robot ได้ ท่านจำเป็นอย่างยิ่งยวด ต้อง เร่งสปีดหาความรู้สุดชีวิต 


เพราะเมื่อวันที่ Robot  ออกจากที่มืดมาสู่ที่สว่าง (ความเห็นส่วนตัวประมาณ 5-8 ปี) หากวันนั้นท่านยังไม่เชี่ยวชาญ ท่านจะขาดทุนในการลงทุนอย่างหนัก


โดยส่วนตัวเชื่อว่า เมื่อเวลานั้นมาถึง การลงทุนในปัจจัยพื้นฐาน  ยังพอทำมาหากินในไทยได้ แต่จะต้องอาศัยความอดทนเพิ่มขึ้นอย่างมาก  ผมไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่จะ "ใจหินอดทน" ขนาดนั้น


อย่าชะล่าใจว่าตลาดหุ้นไม่ไปไหน  ตลาดไม่เคยตายก็จริง แต่คู่แข่งของท่านเปลี่ยนไปแล้ว และมันก็แข็งแกร่งน่ากลัวมากด้วย


ออกไปหากินนอกบ้าน

การลงทุนนอกประเทศใน ตลาดเกิดใหม่เช่น ลาว เวียดนาม เป็นเรื่องน่าสนใจ สาเหตุเพราะ Robot ยังไม่ไปถึงที่นั่น ดังนั้นท่านยังสามารถใช้วิธีการที่เรียบง่าย เพื่อทำกำไรจากการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ได้ดีพอสมควร

เซียน VI ยังไปหากินเวียดนาม ภาพจาก Road to billion

สรุป  
Robot  คือภัยคุกคามที่น่ากลัวมากๆของรายย่อย  Robot ของ "ขาใหญ่" มีความได้เปรียบทั้งศักยภาพและโครงสร้างกติกา นักลงทุนรายย่อยควร "ปรับตัว" เพื่อรองรับการ "มาแน่" ของ Robot ต่อไป
Read More »

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สอนเล่นหุ้น - วิธีดู "ผู้บริหารที่ดี" ของคุณกวี ชูกิจเกษม




บทความนี้จะว่าถึง วิธีดูผู้บริหารที่ดี” ครับ


ผู้บริหารที่ดี คือ หัวใจสำคัญในการตัดสินว่า หุ้นตัวนั้นน่าลงทุนในระยะกลางหรือยาวหรือไม่


เพราะผู้บริหารที่ดี จะผลักดันให้กำไรต่อหุ้น (EPS) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 
Read More »

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

หุ้น : วิธีลาก Trend line ที่ถูกต้อง





สงสัยไหมครับว่า Trend line ที่ "ถูกต้อง" ลากยังไง ??

ผมเองก็สงสัย เพราะเห็นการลาก Trend line ในอินเตอร์เน็ต หุ้นตัวเดียวกัน แต่ต่างคนลากไม่เหมือนกัน ผมสังเกตุด้วยว่า นักวิเคราะห์หุ้น 2 คนจากหลักทรัพย์เดียวกัน ยังลากไม่เหมือนกันเลย


การลาก Trend line ให้ ถูกวิธีเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ Trend line คือ จุดกลับตัว ของแนวโน้มราคา หากลากผิด เราจะได้ จุดกลับตัวที่ผิด อันส่งผลถึงกำไรการซื้อขายหุ้นของเรา


เพื่อให้หายสงสัยว่า  ลากแบบไหนจึงถูกต้อง  ผมหาคำตอบด้วย
Read More »

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สอนเล่นหุ้น:วิธีค้นหาการลงทุนแบบของคุณเอง

    


    เป็นที่ทราบโดยทั่วว่า การลงทุนตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากไม่มีการการันตีว่า คุณจะมีกำไรหรือได้คืนครบในยามที่คุณออกจากตลาดหุ้น  

ดังนั้น การลงทุนหุ้นต้องอาศัย ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง  ถึงจะรักษาต้นทุนและทำกำไร ได้   การลงทุนด้วยความรู้ผิวเผิน  ครึ่งๆกลางๆ  ก็เสมือนนักมวย อ่อนซ้อมที่ไปแลกหมัดกับนักมวยมืออาชีพ ย่อมได้รับ ความเจ็บปวดและเสียหายกลับมาเป็นส่วนมาก



    จากเหตุผลข้างต้น การค้นหา แนวทางการลงทุนของตัวคุณเอง คือสิ่งจำเป็นลำดับต้นๆของนักลงทุน  เพราะแนวทางแต่ละแบบไม่เหมือนกัน
Read More »
Google